กฎหมาย ของประเทศเเต่ละจังหวัดจะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันตามที่รัฐธรรมนูญไทยเขียนไว้ว่ารัฐไทยเป็นรัฐๆเดี่ยวจะเเบ่งเเยกไม่ได้เเต่ที่ดินจังหวัดภูเก็ตใช้กฎหมายคนละฉบับกับที่ดินทั่วประเทศ
คนจนเวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม มันจุกอกหายใจไม่ออก เฝ้าถามตัวเองว่าเพราะเกิดมาจน จึงไม่ได้รับความเป็นธรรม
ข้าพเจ้าด้วยความน้อยเนื้อตํ่าใจในวาสนาที่ฝันว่าจะได้มีโฉนดจากที่ดินที่ทํามาหากินมาด้วยความสุจริตเเละยังอุทิศที่ผ่ากลางที่ให้เป็นทางสาธารณะด้วยใจที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันข้าพเจ้ายังมีกําลังใจเพราะข้าพเจ้าเชี่อในกรรม ดีที่ทํามาตลอดเเละข้าพเจ้าเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินของข้าพเจ้าไม่ติดที่ป่าหรือที่รกร้าง ข้าพเจ้าจึงขอวิงวอนเเละขอถามท่านนายกว่า ทำไมถึงมีการรับรองเเนวเขตครบทุกด้านรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่43 มีมติว่า สค 1 ถูกต้อง ออกให้ผู้ขอ ได้เต็มเเปลงเเละที่ดินข้างเคียงไม่เป็นที่หลวงหวงห้ามเเต่อย่างใดและข้าพเจ้าไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ประกาศครบ30วันไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้านเมื่อเจ้าพนักงานที่ดิน พิสูจน์ไม่ได้ว่าสค1 จดที่ว่างเปล่าทําไม.ข้าพเจ้าต้องกันระยะที่ดินออกไป5ไร่ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิด..และหากเจ้าหน้าที่ที่ดินเชื่อว่าสค1-ของข้าพเจ้าจดป่า ทําไมถึงออกประกาศ 30 วันไม่มีผู้โต้เเย้งสิทธิซึ้งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกโฉนด

ซึ้งตามกฎหมาย ในเมื่อข้างเคียงมิได้ใช้สิทธิ์คัดค้านนำชี้เขตหรือนำรังวัดหรือให้ถ้อยคำต่าง ๆก็ต้องพิจารณาว่ามีกฏหมายหรือระเบียบให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างไรหรือไม่ซึ่งก็คือตามนัยดังกล่าว

ระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินเเปลงนี้




Item Thumbnailบั

ระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินเเปลงนี้ บันทึกข้างเคียงเปลี่ยนเเปลง( ทด 16) ดูเอกสาร

ตามข้อ15(1)เเละ(2)ตามกฎกระทรวง ฉบับที่43 2537ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมาลกฎหมายที่ดินพศ2497เเละข้อ6วรรคหนึ่งของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรังวัดปลักหลักหมายเขตที่ดินพศ2527


โฉนดที่ดิน สีส้ม มีถนนตรงกลางข้าพอุทิศให้เป็นทางสาธรณะ

สีฟ้า ช้างเคียงโดยรอบ ในสค1 เขียนว่า


ชึ้งใน สค 1ระบุว่า ทิศเหนือจด ที่ดินว่างเปล่า ปัจุบัน ข้อเท็จจริง ได้ออก นส 3 ก

ใน สค 1ระบุ ทิศใต้จด ที่ดินว่างเปล่า ปัจุบัน ข้อเท็จจริง ที่ครอบครอง นาย รัตน์ ดูเอกสาร

ใน สค 1ระบุ ทิศตะวันออก จด ที่ดินนายไข่ ไชยศรี

ปัจุบัน ข้อเท็จจริง จด ที่ดินนายไข่ ไชยศรี

ใน สค 1ทิศตะวันตกจด ที่ดินว่างเปล่า ปัจุบัน ข้อเท็จจริง ที่ครอบครอง นางพรวิไล


ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย

1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2.ชี้ระวางแผนที่
3. รับคำขอ สอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียม
4. ฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด
5. ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หมายข้างเคียง

6. รับหมายแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัดรับหลักเขตที่ดิน

ข้างเคียงลงชื่อรับรองเเนวเขตครบทุกด้านถูกต้องดูเอกสาร รับรองสําเนาถูกต้องโดยที่ดิน

7. ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัด พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ที่ดิน

8. คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่โฉนดที่ดิน
9. เจ้าพนักงานที่ดินประกาศการแจกโฉนดที่ดิน 30 วัน

ประกาศครบ30วัน ไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้าน

10. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ

ประกาศครบ30วัน ไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้าน

11. เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีขอออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครองหรือกรณีเนื้อที่เกิน 50 ไร่ ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ที่เเปลงนี้มีสค1
12. ส่งเรื่องให้คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 ตรวจสอบกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้

คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่43 สค 1 ถูกต้อง ออกให้ผู้ขอ ได้เต็มเเปลง ดูเอกสาร

-ป่าไม้รับรองไม่ติดอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ดูเอกสาร ทั้งนี้ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในหนังสือดังกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือผู้ใดโต้แย้งสิทธิในที่ดินถ้าข้อเท็จจริงจดป่าป่าไม้ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดน157เพราะไม่โต้เเย้งสิทธิเเละเป็นหนึ่งในคณะ-

กรรมการตามกฎกระทรวงตามกฎ43ที่ลงมติรับรองที่เเปลงนี้

ที่ดินว่างเปล่าทางทิศ เหนือ ทิศใต้ เเละทิศตะวันตกซึ้งปรากฎในสค1 เเปลงนี้ ได้รับการรับรองจากผู้ปกครองท้องที่เเล้วว่าไม่เป็นที่ห่วงห้ามประเภทใดทั้งสิ้น

-มีการปักหมุดเขตเเน่นอนเเล้ว


13. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอและแจ้งเจ้าของที่ดินมารับโฉนด

เเต่กลับออกคําสั่งให้กับผู้ขอ

"ห้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด" โดยอ้างเหตุ

สค1 จดที่รกร้างว่างเปล่าก็ต้องถือระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 10 ในกรณีที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าเเละระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฎในหลักฐานเเจ้งการครอบครองให้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด

คําสั่งข้างตีนนี้ ถ้าผู้ปฎิบัติที่มีหน้าที่ต้องเข้าใจถึงขั้นตอนเเละระเบียบปฎิบัติของกฎหมายว่าอยู่ในขั้นตอนใหน ซึ้งเป็นขั้นตอนที่ปฎิบัติตามหน้าที่ตามที่กรมที่ดินใช้มานานเเล้วไม่ใช้ระเบียบใหม่ซึ้งกรมที่ดินได้ออกระเบียบลดขั้นตอนเพื่อให้ข้าราชการของกรมที่ดินได้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกกรมคงเห็นว่า ขั้นตอนที่มีอยู่นั้นท็าให้การปฏิบัคิหน้าที่งานล่าช้า เเต่ก็เกิดคําถาม ว่ากรมที่ดินสํานักมาตราฐาน มีต๋าตอบให้ประชาชนว่าเเนวทางใหนที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่ใช้กัน


ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. 2542 และประกาศกรมที่ดินเรื่องการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ลงวันที่ 15 กันยายน 2547

ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. 2542 ออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2532 ซึ่งปัจจุบันระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีบางฉบับ พ.ศ. 2546 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2546 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 ให้ส่วนราชการดำเนินการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนลง 30-50% จากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 และสอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กรมที่ดินจึงได้ออกประกาศกรมที่ดิน เรื่อง การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547 เพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน และให้บริการของกรมที่ดินมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของประชาชน สำหรับรายละเอียดของระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชน พ.ศ. 2542 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศกรมที่ดิน เรื่อง การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547

ตอบโดย ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพกรมที่ดิน ราชการบริหารส่วนกลาง

14. แจกโฉนดที่ดินให้ผู้ขอ

ขั้นตอนสุดท้ายข้อ14ประชาชนจึงไม่ต้องการมาออกโฉนดกันโดยความจริงใครบ้างไม่ต้องการออกโฉนด




---------------------------------------------------------------


นายกฯประกาศเชิญชวนประชาชนทุกคนทุกฝ่าย

ร่วมเดินหน้าปฏิรูประเทศไทย" ย้ำรับฟังทุกเสียง-ทุกความคิด


วันนี้ประเทศไทยต้องเดินหน้า แต่ความโกรธ ความเคียดแค้นและความชิงชัง ไม่สามารถสร้างอนาคตให้ประเทศไทยและลูกหลานไทยได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะปรองดองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย รวมใจเป็นหนึ่งเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ สร้างความเสมอภาค สื่อสารถึงกันอย่างสร้างสรรค์ ค้นหาและยอมรับความจริง โดยมีการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย มีประสิทธิภาพและโปร่งใส


เรียนท่านนายกรัฐมนตรี


เรี่อง ขอความเป็นธรรม

ข้าพเจ้านําสค1ที่ระบุระยะจดที่รกร้างว่างเปล่าทั้ง3ด้านเเละถ้าข้อเท็จจริง จดป่าหรือที่ว่างเปล่าจริงตามที่ทางที่ดินจังหวัดม ีหนังสือถึงข้าพเจ้า

โดยมีใจความว่า

"ฝ่ายทะเบียนพิจรณาเเล้ว กรณึสค1 มีข้างเคียงด้านหนี่งด้านใด หรือหลายด้านจดป่าหรือจดที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยใช้ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่12พศ (2532)ข้อ10 ได้กําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินให้ตามระยะที่ปรากฎในสค1เท่านั้น "เอกสารประกอบ


การที่ข้าพเจ้าได้ขอออกโฉนดโดยอาศัยหลักฐาน สค 1 ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง (สค1) จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน (. 2497) มาตรา ๕๙ ตรี ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครองตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ..๒๔๙๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์ ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด รวมถึง


ข้าพเจ้าด้วยความน้อยเนื้อตํ่าใจในวาสนาที่ฝันว่าจะได้มีโฉนดจากที่ดินที่ทํามาหากินมาด้วยความสุตริตเเละยังอุทิศที่ผ่ากลางที่ให้เป็นทางสาธารณะด้วยใจที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันข้าพเจ้ายังมีกําลังใจเพราะข้าพเจ้าเชี่อในกรรม ดีที่ทํามาตลอด

เเละข้าพเจ้าเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินของข้าพเจ้าไม่ติดที่ป่าหรือที่รกร้าง ข้าพเจ้าจึงขอวิงวอนเเละขอถามท่านนายกว่า ทำไมถึงมีการรับรองเเนวเขตครบทุกด้านรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่43 มีมติว่า สค 1 ถูกต้อง ออกให้ผู้ขอ ได้เต็มเเปลงเเละที่ดินข้างเคียงไม่เป็นที่หลวงหวงห้ามเเต่อย่างใด และข้าพเจ้าไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ประกาศครบ30วัน ไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้านเมื่อเจ้าพนักงานที่ดิน พิสูจน์ไม่ได้ว่าสค1 จดที่ว่างเปล่าทําไม.ข้าพเจ้าต้องกันระยะที่ดินออกไป5ไร่ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิด..และหากเจ้าหน้าที่ที่ดินเชื่อว่าสค1-ของข้าพเจ้าจดป่า ทําไมถึงออกประกาศ 30 วันไม่มีผู้โต้เเย้งสิทธิซึ้งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกโฉนดที่ิ ดินเเละที่สําคัญ ก็ต้องเเจ้งความดําเนินคดีกับ คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่43 ที่ีมีต้วเเทนที่ดินจังหวัด ร่วมอยู่ด้วย ในข้อหา ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เเ ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ (ม 157)เพราะที่ดินเชื่อว่าสค1เเปลงนี้จดที่ว่างเปล่าช้าพเจ้าไม่ต้องการเอาผิดกับใครเพราะทุกคนก็มีครอบครัวที่ต้องดูเเลเเต่ไม่อยากให้คนอื่นๆต้องมาเจอปัญหาเช่นนี้คนจนเวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม มันจุกอกหายใจไม่ออก เฝ้าถามตัวเองว่าเพราะเกืดมาจน จึงไม่ได้รับความเป็นธรรมเห็นชัดว่าถูกเเต่ทําอะไรไม่ได้ หรือว่านี้คือปัญหาที่ได้ยินตามวิทยุว่า

ปฏิรูปประเทศไทยร่วมกันเเก้ไขจะได้ปฏิบัติเป็นมาตราฐานเดียวกัน


ด้วยความเคารพอย่างสูง

จรัญ หนูพู่

ขอความเป็นธรรมขั้นพี้นฐาน





ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2532) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หมวด 2 ข้อ 10. บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่ที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า และระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ให้ถือระยะที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์"

ส่วนข้อ 8. วรรคสองบัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่ระยะของแนวเขตที่ดินผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้ว เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตไว้เป็นการถู

ประชาชนจึงมีคําถาม


"ห้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด" โดยอ้างเหตุ

สค1 จดที่รกร้างว่างเปล่าก็ต้องถือระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 10 ในกรณีที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าเเละระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฎในหลักฐานเเจ้งการครอบครองให้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด ถือว่าเจ้าหน้าที่ ดำเนินการรังวัดออก โฉนด. โดยมิชอบ

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องถูกลงโทษทางวินัยและอาญาเมื่อดูแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีประเด็นว่าเป็นที่หลวงหวงห้าม แต่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ประชาชนย่อมมีสิทธิ์เข้าไปครอบครองโดยเปิดเผยครับแม้ที่ว่างเปล่าได้สละการครอบครอง ผู้ครอบครองต่อมาย่อมได้รับ"สิทธิ์ครอบครอง"แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่ง และสามารถนำที่ดินนั้นไปขอออกโฉนด โดยมิได้แจ้งการครอบครองได้เพราะไม่ใช่ที่หลวงหวงห้าม ซึ่งเป็นข้อห้ามการออกโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดินการพยายามบอกกับสังคมว่าเป็นที่หลวงต้องเอาคืน ไม่มีตรงไหนที่บอกว่า เป็นที่หลวง....มันเป็นการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบซึ่งมีหลากหลายสาเหตุแต่ที่ดินที่เข้าไปทำประโยชน์นั้น หากเป็นคนไทยเข้าไปทำประโยชน์โดยเปิดเผยต่อเนื่อง ย่อมได้สิทธิ์ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯอยู่แล้วการออกเอกสารสิทธิ์ให้เป็นเพียงเป็นการรับรองโดยทางราชการเท่านั้นเองคนเรียนกฎหมายย่อมซึมซับเรื่องสิทธิ์ในที่ดินและเอกสารสิทธิ์ เค้ารู้ว่ามันเป็นคนละเรื่องส่วนเจ้าของในปัจจุบันได้สิทธิ์นั้นโดยการครอบครองแล้วครับเพราะได้สิทธิ์ในที่ดินด้วยการเข้าทประโยชน์แล้วออกโฉนดได้ ไม่มีปัญหา...เป็นโฉนดใหม่นะครับ...( แต่จะเป็นโฉนดหลังแดง ห้ามโอน ห้ามซื้อขายภายใน 10 ปี เพราะไม่ได้แจ้งการครอบครอง )หากมีการเดินสำรวจทั้งตำบล ก็ขอออกโฉนดได้ นำทำการรังวัดได้เลยหากไม่มีการเดินสำรวจทั้งตำบล สามารถรอขอออกใบจอง แล้วนำใบจองไปขอออกโฉนดเฉพาะรายที่สำนักงานที่ดินโฉนดเก่า หรือ นส. 3 . เก่า ก็ยกเลิกไปเรื่องเอกสารสิทธิ์ กับสิทธิครอบครอง เป็นคนละเรื่องกันก่อนออกโฉนดใหม่หลังจากทำการสอบสวนและทำการรังวัดใหม่แล้ว ต้องปิดประกาศ 30 วัน หากไม่มีผู้คัดค้าน ก็ออกได้เลยหากมีผู้ร้องค้าน ก็จะเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินเรียกทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ยที่สำนักงานที่ดินหากตกลงกันได้ก็จบ ออกโฉนดได้ หากเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่าผู้ร้องค้านไม่มีเหตุผลเพียงพอ ก็สั่งออกโฉนดได้ ( เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่ดิน )กรณีนี้หากผู้ร้องคัดค้านเห็นว่าเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ก็ไปร้องต่อศาลเอาเอง
กรณีที่ 2 หากผู้ร้องคัดค้านไม่ยินยอม เจ้าพนักงานที่ดินเห็นตามผู้ร้องคัดค้าน ก็จะไม่ออกโฉนดให้ ( เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่ดินเช่นกัน )ผู้ขอออกโฉนดก็นำเรื่องร้องต่อศาล...สุดท้ายศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าที่ดินดังกล่าว สามารถออกโฉนดให้แก่ผู้ร้องได้หรือไม่ท้ายที่สุดเรื่องจะไปจบลงที่ศาลทั้งนั้น หากเป็นไปตามนี้..เพราะมิใช่ กันระยะโดยเหตุ"ทับที่หลวง" แต่เป็นเรื่องออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบซึ่งยังคงมีที่ดินบางแปลงมีกรณีพิพาทกันอยู่เจ้าหน้าที่ จะเป็นฝ่ายเสียหายซะเองยิ่งมาตอกย้ำว่า...สค1 จดที่รกร้างว่างเปล่า ต้องกันระยะ


ซึ้งตามกฎหมาย ในเมื่อข้างเคียงมิได้ใช้สิทธิ์คัดค้านนำชี้เขตหรือนำรังวัดหรือให้ถ้อยคำต่าง ก็ต้องพิจารณาว่ามีกฏหมายหรือระเบียบให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างไรหรือไม่ซึ่งก็คือตามนัยดังกล่าว


กรณีปัญหาที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ เเต่เเนวทางปฎิบัติเเตกต่างจากจังหวัดภูเก็ต

ด้านนายจำลอง โพธิ์เพชร หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย เปิดเผยว่า ที่ดินงอกกับที่ดินเพิ่มไม่เหมือนกัน ข้อเท็จจริงเป็นการเพิ่มจากการรังวัดตามแนวเขตที่ดิน ซึ่งตามแนวเขตในหนังสือส..1 ได้แสดงลักษณะผังที่ดินประกอบไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่การรังวัดเป็นโฉนดที่ดินต้องใช้วิธีการตรรกะ (การคำนวณกราฟ) ปักหมุดตามหลักเขต ฉะนั้นรูปที่ดินในโฉนดที่ออกมาจะเปลี่ยนไปตามแนวที่วัดได้และส่วนที่เพิ่มมา ต้องเป็นไปตามเขตที่ดินดังกล่าว

นายจำลองกล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่การรังวัดโฉนดเป็นไปได้ทั้งเนื้อที่ลดหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ต้องเป็นไปตามการรังวัดของเจ้าหน้าที่ และต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงเซ็นชื่อรับทราบยอมรับในแนวเขตดังกล่าว อย่าลืมว่าที่ดินบนเกาะสมุยมีราคาแพงคงไม่มีใครยอมให้คนอื่นมาบุกรุกกินเนื้อที่ของตนไปแน่ และหากเจ้าของที่ข้างเคียงไม่ยอมเซ็นชื่อก็ออกโฉนดให้ผู้ขอไม่ได้


สื่อมวลชลให้ความสนใจในเรื่ิองนี้

ละเอียดข่าว


กาขาว [ 13 ]


หนังสือพิมพ์เสียงใต้รายวัน ประจำวันที่ 16 มิถุนายน ..2553... ขอเชิญชวนพสกนิกรร่วมกันแสดงถึงความจงรักภักดีและลงนามถวายพระพร...

สำรวจตัวเลขยื่นคำร้องขอกรรมสิทธิ์ที่ดินบนเกาะภูเก็ต 1,400 ราย ที่ออกเอกสารไม่ได้ เป็นปัญหาโลกแตกสำหรับเกาะภูเก็ตหลายมาตรฐาน อย่างที่มท.3” ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ชี้ว่าเป็นปัญหาที่ลาดชัน-ควนเขา”...z กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 43”ให้อำนาจผู้ว่าฯแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ที่ดิน, ป่าไม้, นายอำเภอ, พัฒนาการที่ดิน และผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันตรวจสอบที่ดินที่มีปัญหา และการครอบครองก่อน ..2497 โดยเฉพาะ..1”...z ขั้นตอนนี้กรมที่ดินได้ประกาศให้ราษฎรที่ครอบครองขอออกโฉนดปัญหาที่จะถกเป็นประเด็นว่า..1”ที่ดินที่ครอบครองน้อยกว่าเป็นจริง เพราะการเลี่ยงภาษี”...z นี่เป็นประเด็นหนึ่งของการคอร์รัปชันคือ การต่อรองอามิสสินจ้างหรือขอส่วนแบ่งส่วนที่เกินในหลายรูปแบบ ความง่ายกลายเป็นยาก หรือความยากชาวบ้านขี้เกียจรำคาญกำขี่ดีกว่ากำตดเป็นเรื่องง่าย...z พูดถึงคณะกรรมการที่ผู้ว่าฯแต่งตั้ง ถือว่าร่วมฟันธงที่ดินแปลงไหนถูกหรือบุกรุกในเขตป่าสงวนแห่งชาติและที่ดินสาธารณะ เสนอรายงานต่อผู้ว่าฯมิใช่ว่าการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวอคติเมื่อติดเขตที่ดินของใคร เซ็นรับรองแนวเขตหรือติดเขตป่าฯ ติดประกาศ 30 วัน ใครค้านแย้งได้...z ที่เกิดขึ้นที่ดินเห็นแย้งป่าไม้ไม่มีปัญหา นายอำเภอและผู้ใหญ่บ้าน เห็นพ้อง แต่เป็นว่าการเสนอความเห็นส่วนตัวขัดต่อความเป็นจริง นี่ก็ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานเออ...เวรจงระงับด้วยการไม่จองเวร ชาวบ้านตาดำๆมีสิทธิ์ไหมครับ เอวังด้วยประการฉะนี้...z โฉนดบินเพราะโจรในเครื่องแบบร่วมมือกันโกงสมบัติชาติไม่อยากจะพูดมาก หรือไปสอนสังฆราชกฎกระทรวง .43” หากเกิดการขัดแย้ง ขอให้ผู้ตรวจกรม-กระทรวง-สำนักนายกรัฐมนตรีลงมาร่วมตรวจสอบ เชื่อว่า 1,400 แปลง ขุดหาความจริงได้...z ย้ายกลับมาใหญ่ นิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าฯภูเก็ตคนใหม่ (อดีตปลัดจังหวัด) คนภูเก็ต สับเปลี่ยนเก้าอี้กับ สมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย ย้ายไปเป็น รองผู้ว่าฯสุโขทัย ยินดีด้วย...z สนง. เขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต ถนัด ขวัญนิมิต ผู้อำนวยการ ย้ายไปเป็น ผอ.ฯเขต 2 พัทลุง ยกเก้าอี้ให้ ประไพ รัตนไพจิต ผอ.ฯร้อยเอ็ด คนเมืองคอนมานั่งแทน เพื่อรอเกษียณอายุ โชคดีเช่นกัน...z สนง.เหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต จัดฝึกอบรมผู้ประสานงานการจัดหาบริการโลหิต คน RH (เลือดลบ) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน ศกนี้ 2 วัน ที่โรงแรมเพิร์ลและโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน.............

กาขาว

วันที่ : 15 มิ. 2553

ข้อมูล นสพ เสียงใต้

ภาพขนาดย่อของรายการ

กรณีที่ดินจังหวัดสุราษฎร์,พังงา,กระบี่,เลย เเนวทางปฎิบัติเเตกต่างจากจังหวัดภูเก็ต

การดำเนินการในการออกโฉนดที่ดิน กรณีเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินตามโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ หากกระบวนการในการรังวัดถูกต้อง ครบถ้วน ก็สามารถแจกโฉนดได้ภายในระยะเวลาของโครงการฯ แต่หากมีปัญหาในการดำเนินการของขั้นตอนการรังวัด เช่น การรับรองแนวเขตไม่ครบถ้วน ก็จะต้องส่งเรื่องราวให้สำนักงานที่ดินท้องที่ดำเนินการต่อ โดยต้องนัดรังวัดตรวจสอบใหม่ เพื่อแจ้งให้ข้างเคียงที่ดินที่ไม่ได้รับรองแนวเขตมาระวังชี้แนวเขต ถ้าหากการดำเนินการในส่วนต่าง ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ก็สามารถออกโฉนดได้โดยเร็ว

ตอบโดย สำนักงานที่ดินจังหวัดพังงา

ฝ่ายอํานวยการสํานักงานที่ดินจังหวัดกระบี่, พังงา เเละ กว จังหวัดเลย จังหวัด สุราษฎร์ ใช้ข้อเท็จจริง ต่างจากภูเก็ตยึดระยะตามสค1เป์นหลักไม่ใช้ข้อเท็จจริงที่เป็นปัจุบันผมเลยไม่เข้าใจเเต่ถ้าเป็นเเนวทางปฎิบัติเดียวกันประชาชนก็จะลดภาระไม่ต้องขึ้นศาลปกครองเพราะจะไม่มีความคิดว่าจังหวัดอื่นออกให้ครบเเต่จังหวัดเราถูกตัดระยะเลยตัองไปศาลปกครองเพราะที่ดินจังหวัดเเจ้งว่าเป็นคําสั่งทางปกครองให้ไปฟ้องศาลปกครองเลยคิดในใจนี่เราอยู่กับเพี่อนคนละรัฐเหมือนในอเมริการึเปล่าเพราะกฎหมายใชัคนละฉบับที่รู้มารัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยวเเบ่งเเยกไม่ได้



---------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------


ปปช



กรณ๊ที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตป่าหรือคาบเกี่ยวเขตป่าไม้ ในชั้นออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ..3. ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นไปตรวจสอบแล้วและคณะกรรมการมีความเห็นว่าควรออก ..3.ให้ผู้ขอได้แล้ว ต่อมาผู้ขอได้นำหลักฐาน ..3.ฉบับนั้นมาขอออกโฉนดที่ดิน จำเป็นจะต้องตั้งคณะกรรมการฯขึ้นไปทำการตรวจพิสูจน์อีกหรือไม่ อย่างไร


คณะกรรมการ ... พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของ นายสมนึก ไพบูลย์ เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็น เจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 157 จึงมีมติให้ส่ง รายงาน เอกสารและความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาและอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการทางวินัยและ ฟ้องผู้ถูกกล่าวหาเป็นคดีอาญาต่อศาล ต่อไป




ถ้ามาดูที่เเปลงนี้


กรณีกรณ๊ที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตป่าหรือคาบเกี่ยวเขตป่าไม้ ในชั้นออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นไปตรวจสอบแล้วและคณะกรรมการมีความเห็นว่าควรออก โฉนด.ให้ผู้ขอได้แล้ว ต่อมาที่ิดินจังหวัดภูเก็ตได้เสนอความเห็นโดยไม่ใช้มติของคณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่43 เสนอผู้ว่าซึ้งเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง 1 ใน5 ของคณะกรรมการมีที่ดินจังหวัดเป็นคณะกรรมการร่วมอยู่ด้วย ถ้าคณะกรรมการรับรองเเต่เจ้าที่ดินไม่รับรอง ดูเเล้วไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย เป็นความผิดทางวินัยเเละใข้อํานาจโดยมิชอบ







ในฐานะเป็นคนไทยขอเป็นกําลังใจให้นายกทวงคืนเเผ่นดินไทยกลับมาในเร็ววัน

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การบริหารราชการตามระบบคุณธรรม



การบริหารราชการตามระบบคุณธรรม             
     [ กดเบาๆนะจ๊ะ ]

                                                 โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์




ข้าราชการคือข้าของแผ่นดิน เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้าราชการคือเสาหลักเสาหนึ่งของระบบบริหารราชการแผ่นดิน หากข้าราชการทำงานดี ประพฤติดี ก็เท่ากับเป็นการสนองคุณของแผ่นดิน

หากข้าราชการทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารได้เข้าใจความเสี่ยงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีโดยยึดแนวทางตามพระราชจริยวัตร ทศพิธราชธรรม และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ  จะช่วยให้ท่านประสบความสุขความสำเร็จและความก้าวหน้าในการทำงาน 

จึงขอนำมาเสนอเป็นข้อสังเกตเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทำดี ได้โปรดทำดีต่อไป  และเป็นข้อเตือนใจเพื่อป้องกันการกระทำผิดพลาดไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามสำหรับผู้พลั้งเผลอ


ก.ระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
      เมื่อกล่าวถึงคำว่า คุณธรรม จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของคำที่เกี่ยวข้องก่อน โดยเฉพาะคำว่าคุณธรรมในภาษาไทย ที่ตรงกับความหมายภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ Virtue ที่หมายถึง ความดีงาม และ  Merit ที่หมายถึง ความเหมาะสมในการส่งเสริมคนดีมีคุณสมบัติที่ดี เป็นต้น
อย่างไรก็ดียังมีคำที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมอีกมากมาย ได้แก่

1.จริยธรรม (Ethics)
หมายถึง ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละ หรือประพฤติดีงาม
จริยธรรมมีการใช้งานใน 3 ลักษณะ
(1ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่ง ๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควร หรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
(2ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
(3) กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่วถูก - ผิดควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

2. จรรยาบรรณ(Code of Conduct or Professional Ethics)
หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติ หรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ ต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม
จรรยาบรรณมีการใช้งานใน 2 ลักษณะ
(1ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
(2)  หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ
3. ศีลธรรม (Moral)
หมายถึง ความประพฤติที่ดีที่ชอบ ดีงาม และเว้นจากการทำความชั่ว  โดยถือว่า
ศีล หมายถึง เว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม ส่วนธรรม หมายถึงประพฤติดี หรือทำตามคำแนะนำสั่งสอน
ศีลธรรมจึงมีการใช้งานในลักษณะที่เน้นทั้งการกระทำดี และการหลีกเลี่ยงการกระทำชั่ว

4. คุณธรรม (Virtue)
หมายถึง แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
คุณธรรมมีการใช้งานใน 2 ลักษณะ
(1) สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
(2) คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น

5. คุณธรรม (Merit)
หมายถึง  ความดีงามของคนมีความรู้ดี ความสามารถดี ความประพฤติดี ทำให้คนมีคุณภาพ ใช้เป็นคุณสมบัติ(QUALIFICATION) และ ใช้ในการเลือกคนให้ทำงาน   
    คุณธรรม (Merit) มักใช้ในความหมายของระบบคุณธรรมของการบริหารงานบุคคล

6. ธรรมาภิบาล (Good Governance) 
หมายถึง การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล  ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
     - การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)
     - นิติธรรม (Rule of Law)
     - ความโปร่งใส ( Transparency)
     - การตอบสนอง (Responsiveness)
     - การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)
     - ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)
     - ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)
          - ภาระรับผิดชอบ (Accountability)

 7. ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)
หมายถึง จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน
ทศพิธราชธรรม 10 ประการมีดังนี้
          - ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ
          - ศึล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ
          - บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
          - ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
          - ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส
          - ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
          - ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
          - ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
          - ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง
          - ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก


ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
คุณธรรม(Virtue) และจริยธรรม เป็นกลไกเพื่อการควบคุมตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการกำกับพฤติกรรมของคนแต่ละคนในองค์กร ส่งเสริมให้ประพฤติชอบ (ทำดี มีประสิทธิภาพ)
ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นกลไกเพื่อการควบคุม โครงสร้างของหน่วยงาน ระบบการบริหาร และกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นกระบวนการกำกับการปฎิบัติงาน (Operation) ของคนทั้งหมดในองค์กร เป็นการลดการทุจริตประพฤติมิชอบ (ไม่ละเมิดกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ)
ทั้งกลไกด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล มีเป้าหมายเดียวกัน คือ นำไปสู่การลดความสูญเสีย ขจัดรูรั่วไหล ป้องกันการทุจริต การประพฤติและดำเนินการที่มิชอบ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล ความคุ้มค่า โปร่งใส ตอบสนอง สุจริต ซื่อตรง และเที่ยงธรรม

หลักสำคัญของระบบคุณธรรมที่ใช้ในระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ (MERITSYSTEM)
1. หลักสมรรถนะ (Competency)
2. ความเสมอภาคทางโอกาส (Equality Of Opportunity)
3. ความมั่นคงในอาชีพ (Security Of Tenure)
4. ความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)
จากหลักการของระบบคุณธรรมข้างต้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 จึงได้กำหนดสาระสำคัญในการใช้ระบบคุณธรรมเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐไว้ในมาตรา 42 ดังนี้
มาตรา 42 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้
(1) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ
(2) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(3) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่งและการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพและความประพฤติและจะนำความคิดเห็นทางการเมือง หรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้
(4)  การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
(5)  การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง

สัจธรรมแห่งชีวิตบุคคลทั่วไป 6 ประการ
ในการทำงานหรือดำรงชีวิตของคนนั้น หากท่านเข้าใจสัจธรรม หรือความจริงที่เกิดขึ้นกับทุกคนว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา จะทำให้ท่านเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดี และส่งผลให้มีกำลังใจไม่ท้อถอยในการทำงาน โดยสัจธรรมแห่งชีวิตประกอบด้วย
1.มนุษย์เติบโตมาจากภูมิหลังที่ต่างกัน ทำให้มนุษย์ไม่เหมือนกัน ท่านจะคาดคั้นบีบบังคับให้ทุกคนคิดอย่างเดียวกัน พูดทำนองเดียวกันหรือแสดงออกมาเป็นพิมพ์เดียวกันไม่ได้
2. ไม่มีใครที่ดีที่สุดหรือเลวที่สุด แต่เพียงอย่างเดียว ทุกคนมีทั้งดีและเลว ขึ้นกับว่าท่านรู้จักเขาดีเพียงพอหรือไม่ ท่านให้อภัยหรือชื่นชมผลกระทำของเขาได้หรือเปล่า
3. มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีความตั้งใจที่จะเรียนรู้วิธีเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจงอย่าประเมินผู้อื่นต่ำ อย่าดูถูกเหยียบย่ำผู้อื่น แต่จงชี้แนะวิธีทำงานที่ดีกว่าเพื่อให้เขาค้นพบการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
4. มนุษย์จะทำได้หากได้รับโอกาส และจะทำได้ดีหากมีกำลังใจได้รับคำชมและคำชี้แนะ แต่จะนั่งรอโชคไม่ได้ ต้องสร้างโอกาส และต้องขวนขวายหาทางจูงใจให้ผู้อื่นมองเห็นฝีมือและความสามารถของตน
5. คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่การประเมินจากผู้อื่น เขาจะถูกประเมินอยู่ตลอดเวลา เขาจะเป็นคนดีเมื่อมีเสียงชื่นชมมากกว่าเสียงสาปแช่ง และสุดท้ายเมื่อเขาจากโลกไปเสียงที่ประเมินครั้งสุดท้ายจะเป็นการประเมินผลงานรวมตลอดชีวิตของบุคคลนั้น
6. มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดต้องมีทั้ง ความดี ความเก่ง และโอกาส ความสำเร็จหรือล้มเหลวของมนุษย์ ล้วนเป็นฝีมือของเหล่ามนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น

สัจธรรมชีวิตข้าราชการ 8 ประการ
          ในขณะที่มนุษย์ทุกคนต้องมีความเข้าใจในสัจธรรมแห่งชีวิต 6 ประการแล้ว การเป็นข้าราชการที่ดีย่อมต้องยึดมั่นใจสัจธรรมชีวิตข้าราชการเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วย
1.ข้าราชการหวังในความก้าวหน้าในหน้าที่ (การครองงาน) : ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น,  ได้ย้ายไปสถานที่หรือตำแหน่งที่พอใจได้รับความดีความชอบ,ได้ทำงานโครงการใหม่โครงการใหญ่โครงการยากที่เหมาะสม
2.ข้าราชการต้องการความยอมรับในสังคม (การครองคน) : ได้รับโล่รางวัล,เป็นที่ไว้วางใจของเจ้านาย,เป็นที่รักของลูกน้อง,มีเพื่อนตาย/กิน
3.ข้าราชการต้องจัดการชีวิต (การครองตน) : ครอบครัวอบอุ่น, ทุกคนมีงานทำลูกได้เข้าเรียน ไม่มีหนี้สิน,  สุขภาพตนและครอบครัวดี
4.ความหมาย (ลาภ-ยศ-สรรเสริญ) การจัดลำดับ และขนาดของความสุข/ทุกข์ความสำเร็จ/ความล้มเหลวของข้าราชการแต่ละคนไม่เหมือนกัน
5.ชีวิตราชการเผชิญความเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาสุขบ้าง-ทุกข์บ้าง ทุกคนเรียนรู้และปรับตัวถูกกลืนไปกับระบบราชการ
6.เจ้านาย เพื่อน ลูกน้อง ผู้ร่วมงานเปลี่ยนหน้าตลอดเวลา ย้ายไป,โตขึ้น,ลาออก,เกษียณไปเป็นเรื่องธรรมดา
7. อาชีพข้าราชการเน้นเกียรติ ศักดิ์ศรี มากกว่าเงิน
8.ผลงาน/ตำแหน่ง อยู่ที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และอาศัย จังหวะ คุณภาพงานและคุณลักษณะส่วนบุคคล

สาเหตุที่คนกระทำผิด
การที่คนกระทำผิดมักเกิดจากสาเหตุที่เกิดภายในตัวบุคคล มาจากความไม่เข้าใจ ตามใจ ไม่ใส่ใจ เผลอใจ ไม่มีจิตใจ  เจ็บใจ ชะล่าใจ ล่อใจ ตั้งใจ หรือกล่าวโดยสรุปมาจากจิตสำนึกของตนเอง
สาเหตุกระทำผิดจากภายนอก ซึ่งมาจากอบายมุข ตัวอย่างไม่ดี ขวัญไม่ดี งานล้นมือหรือไม่พอมือ  โอกาสเปิดช่อง อ้างความจำเป็นในการครองชีพ และ ผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย

การกระทำชั่ว เป็นกระบวนการของพฤติกรรม ประกอบด้วย
1. มีผู้กระทำ ซึ่งอาจทำคนเดียว ทำเป็นกลุ่มเดียว หรือทำข้ามกลุ่มฮั้วกัน
2. มีแรงจูงใจ ทำตามคำสั่ง ทำโดยพลการ ทำโดยไม่รู้เท่าทัน ทำเพราะอ้างจำเป็น  บันดาลโทสะ
3. มีโอกาส จังหวะ เวลา สถานที่ เครื่องมือ
4. มีการลงมือ ทำโดยวางแผน ทำปุบปับ ทำรวดเร็ว ทำแบบทารุณ
5. มีผลลัพธ์เกิดตามมา ผิดกฎหมาย ยักยอกของหลวง ทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน สังคมประณาม เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศของตนและวงศ์ตระกูล

วินัย คือ ตัวควบคุมคุณธรรม มิให้กระทำผิด
1. การรักษาวินัยของข้าราชการ 3 วิธี คือ
1) การรักษาวินัยโดยตัวข้าราชการเอง: (1) เรียนรู้และเข้าใจวินัย ซึ่งต้องมีการอบรมเรียนรู้ และ (2) สำนึกในหน้าที่ที่จะต้องรักษาวินัย
 2) การรักษาวินัยโดยผู้บังคับบัญชา : (1) เสริมสร้างและพัฒนา (2)ป้องกัน และ (3) ดำเนินการแก่ผู้กระทำผิด      
 3) การรักษาวินัยโดยองค์กร (1) กำหนดนโยบาย ออกระเบียบและกฎเกณฑ์ (2)  ส่งเสริมและสนับสนุนและ (3) การกำชับติดตามตรวจสอบ

2. ปัจจัยส่งเสริมวินัย 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1) สร้างขวัญ : รับขวัญ/ ปลอบขวัญ / ทำขวัญ / บำรุงขวัญ
2) สร้างกำลังใจ : ซึ่งทำได้ 2 อย่างคือ สร้างแรงดึงและสร้างแรงดัน
สร้างแรงดึงหรือเสริมทางบวก
     (1) สนองความต้องการทางความมั่นคง/ความปลอดภัย/ความเป็นธรรม/ความก้าวหน้า/เกียรติยศ/การยอมรับ
     (2) สร้างศรัทธาในงาน/หน่วยงาน/หัวหน้า/ผู้ร่วมงาน/
สร้างแรงดันหรือควบคุมไม่ให้เกิด
     (1) สร้างเงื่อนไขให้จำเป็น:ผูกมัดด้วยสัญญา/ด้วยเครื่องยังชีพ
     (2) สร้างเงื่อนไขให้กลัว : กลัวผลร้าย  กลัวผู้รับรอง
3) ค่านิยม : มาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม/ปณิธาน/อุดมคติ
4) คุณธรรม :ความเป็นธรรม/ความเสมอภาคในโอกาส/ไม่เลือกปฎิบัติ


3. เหตุบั่นทอนวินัย 6 สาเหตุ
1)  ความไม่รู้ :  ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้/นึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครก็ทำกัน
2) การเสียขวัญ  : รู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจ ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ไม่ได้รับความเป็นธรรม
3) การเสียกำลังใจ : ไม่ได้รับการยอมรับ ความจริงใจ ผลตอบแทน ความเป็นธรรม
4) ความจำเป็น : ถูกล่อลวง ข่มขู่ บังคับ ขัดสน ตอบแทนบุญคุณ
5) กิเลส : ความอยาก/เห่อ /ประมาท/ว้าเหว่ /ความคับข้องใจ
6) อบายมุข การพนัน เที่ยวในถิ่นหรือเวลาอโคจร มัวเมาในกามารมณ์ คบคนชั่วเป็นมิตร

4. เครื่องควบคุมวินัย มี 3 กลไก
1) ข้อกำหนด : บทวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้
2) ผู้ควบคุม : ผู้บังคับบัญชาและองค์กรบริหารงานบุคคลกลาง เช่น คณะรัฐมนตรี  คณะกรรมการก.พ.คณะกรรมการก.ค.ศ.,คณะกรรมการ.ก.ต.ร.
3) มาตรการบังคับ : ลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง และร้ายแรง โดยมีหลักการคือ
     - ความยุติธรรม ต้องมีการสอบสวน พิจารณาและให้สิทธิอุทธรณ์
     - ความเป็นธรรม ต้องให้ได้ระดับมาตรฐานเสมอหน้า
     - ความฉับพลัน ต้องให้รวดเร็วใกล้ชิดกับเหตุ
     - นิติธรรม ต้องมีข้อกำหนดให้ทำหรือห้ามไม่ให้ทำ
     - มโนธรรม ต้องคำนึงถึงความที่ควรจะเป็น

การป้องกันการกระทำชั่ว มิให้ต้องโทษทางวินัย
1.มีคุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดี เป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
2.ทำงานตามระบบคุณธรรม(Merit)
3.มีจริยธรรม (Ethics) เป็นแนวปฏิบัติตามอาชีพ
4.มีธรรมาภิบาล(Good Governance) ประกอบด้วย นิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส   การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า

ข้อระวังในการทำงานกับฝ่ายการเมือง/ฝ่ายบริหารที่อาจนำไปสู่การกระทำผิด
1. การ ล้วงลูกลึกลงไปถึงการแต่งตั้งข้าราชการ ที่มิได้อยู่ในอำนาจของตน
2. การนำบริษัทพวกพ้องเข้ามารับผลประโยชน์ที่มิชอบธรรมจากการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง
3. การขอให้ข้าราชการช่วยสร้างฐานเสียง ในลักษณะ หัวคะแนน” โดยให้จัดโครงการลงพื้นที่ ในลักษณะเลือกปฏิบัติ ขาดความชอบธรรม
4. การขอให้อาศัยอำนาจหน้าที่ช่วยเหลือพวกพ้องที่ทำผิดให้พ้นผิด
ดังนั้นข้าราชการจึงควรระมัดระวัง ดังนี้
- ควรทำหนังสือเสนอ และบันทึกกลับให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนข้อเสนอ และตนเองต้องชั่งน้ำหนักผลที่ติดตามมาหากยังฝืนกระทำความผิด ระหว่างถูกย้ายกับต้องถูกดำเนินคดี
-ให้บันทึกความเห็นแย้งไว้เป็นหลักฐาน หากเป็นการประชุม ให้บันทึกรายงานการประชุมให้ครอบคลุมสาระสำคัญของการใช้ดุลพินิจ
อย่าไปทำผิดไปสะดุดขาตัวเอง อย่าไปตายน้ำตื้น ด้วยความไม่รู้กฎหมาย แต่อย่าเถรตรง จนทุกอย่างไม่ยืดหยุ่น
ยึดความถูกต้องมากกว่าถูกใจ ไม่จงใจซิกแซกเพื่อหลีกเลี่ยงหรือใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย ไปทำผิดทั้งที่รู้ กรรมชาตินี้มีจริง กรรมติดจรวดส่งผ่านอีเมล์ได้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

ป้องกันการร้องทุกข์คับข้องใจก่อนนำไปสู่การกระทำผิดวินัย
-กระบวนการพนักงานสัมพันธ์ งานบริหารบุคคลต้องเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้
-มีกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย ต่อรองภายในหน่วยงาน
-มีการสั่งงาน สอนงาน ควบคุม กำกับติดตามผลงานที่เป็นธรรม
-มีกระบวนการสมาชิกสัมพันธ์ : งานประเพณี งานรื่นเริง งานแต่งงาน
-มีการสื่อสารภายในองค์กรที่ดีและทั่วถึง
-การบริหารจัดการยึดหลักธรรมาภิบาล
-มีแหล่งระบายทุกข์ และทุกข์ได้รับการแก้ไขเยียวยา

ข. วิกฤติจริยธรรมในการบริหารภาครัฐ

คำถามเชิงท้าทายจริยธรรมในการบริหาร
(ที่มา: http://humannet.chandra.ac.th/pa/morals_politic/morals_critical.doc พลสัณห์ ศรีสมทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2549)
ในการบริหารราชการมีจุดที่ตัดสินใจยากสำหรับผู้บริหาร เพราะหมิ่นเหม่ต่อการตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งเป็นคำถามเชิงท้าทายจริยธรรมในการบริหาร
1.จะเลือกให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือ เลือกประสิทธิภาพ  
2.จะเลือกแบบแผนตามวัฒนธรรมดั้งเดิม หรือ ประสิทธิผล
3.จะเลือกประชาชนโดยทั่วไป หรือ กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
4.จะเลือกความมั่งคั่งของธุรกิจ หรือ การขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อม
5.ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผิดกฎ ผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย ถือว่ารับได้
6.การสร้างคะแนนนิยมโดยใช้เงินเป็นเครื่องมือเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้

จากข้อมูลของพลสัณห์ ศรีสมทรัพย์  ยังพบว่าประเด็นจริยธรรม เป็นเรื่องจิตสำนึก” ของผู้บริหารเช่น รู้สึกผิด ไม่สบายใจ เมื่อไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรทำ เช่น
     
วันนี้ชะลอเรื่องการพิจารณาโครงการใหม่ของลูกน้องที่ไม่ใช่พวกเอาไว้ ให้ลูกน้องผู้นั้นกังวลใจไปสักระยะ
งวดนี้ขอเลื่อนตำแหน่งให้ลูกน้องคนสนิท ให้คนที่มีความสามารถรอไปก่อน
หางาน/โครงการให้กับธุรกิจที่เป็นเครือญาติ  หรือตนเองมีผลประโยชน์ร่วม
รับพรรคพวกตนเองเข้ามาทำงานหวังให้เป็นฐานสนับสนุนตนเองในการครองอำนาจ

การแสดงออกถึง จิตสำนึกที่ดี และ การขาดจิตสำนึก เชิงจริยธรรม  
         จิตสำนึกที่ดี  ได้แก่ ความผูกพันต่อการให้บริการ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับ ไม่ทำผิดกฎหมาย นับถือและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คำนึงถึงความยุติธรรมในสังคม ให้ความสำคัญต่อเสียงประชาชน โปรงใส ซื่อสัตย์ ผูกพันต่อการจัดการที่ดี  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ทำลงไป รักษาศรัทธาของมหาชน และสนับสนุนประโยชน์ส่วนรวม
          ขาดจิตสำนึก ได้แก่ ไม่ผูกพันต่อการให้บริการ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หลีกเลี่ยง กฎ ข้อบังคับ  หลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่สนใจความยุติธรรมในสังคมไม่สนใจเสียงของประชาชน ไม่ซื่อสัตย์ คดโกง ไม่ผูกพันต่อการจัดการที่ดี  ไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ทำลงไป  ไม่รักษาศรัทธาของมหาชน และสนใจแต่ประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง

สหราชอาณาจักรกำหนดหลักปฏิบัติเชิงจริยธรรม 7ข้อ สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ
1.ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่กระทำการเพื่อหาประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว และพวก
2.ความเป็นส่วนหนึ่งของระบบของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานสาธารณะ ต้องไม่ไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือกลุ่มผลประโยชน์ อันอาจมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่นั้น
3.มีจุดมุ่งหมายที่มีหลักการและคุณธรรม การดำเนินการต้องเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการ และหลักคุณธรรม (Merit System)
4. รับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ตนได้กระทำ ตัดสินใจใดไปแล้วต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนได้กระทำ
5. เปิดเผยการกระทำ ต้องเปิดเผยการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการดำเนินงานที่ตนได้ทำรวมถึงเหตุผลที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยรายละเอียดเมื่อสังคมร้องขอ
6. ซื่อสัตย์ ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกรณีที่เอกชนได้เข้ามามีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับตน และมีหน้าที่ต้องแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยใช้แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
7.ความเป็นผู้นำ เจ้าหน้าที่รัฐพึงสนับสนุนหลักทั้ง ประการข้างต้น โดยใช้ภาวะผู้นำ และการแสดงตนเป็นแบบอย่างที่ดี

หน่วยงานควรจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม
มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1. กำหนดภารกิจหลักของหน่วยงาน
2. บรรจุหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 มาตรา 3/1 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
3. ค่านิยมสร้างสรรค์
4. มีการป้องกันพฤติกรรมการกระทำผิดที่พบบ่อย หรือล่อแหลมต่อการกระทำผิด
5. ครอบคลุมเนื้อหาทฤษฎีจรรยาบรรณ

ปัญหาเชิงจริยธรรมในการบริหารงานภาครัฐ
จากการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปริญญาโทที่มีต่อการบริหารงานภาครัฐในปัญหาเชิงจริยธรรม พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ประเภทระบบงานสาธารณะที่มีปัญหาเชิงจริยธรรมในระดับค่อนข้างมาก จำนวน 4 กลุ่มตามลำดับ  ดังรายละเอียดจากตารางที่  6
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) นักการเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบล
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  
(4) นักการเมืองในระบบเทศบาล


ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยของปัญหาเชิงจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จากทัศนะของนักศึกษาปริญญาโท

ประเภทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ               ค่าเฉลี่ย      จัดลำดับ      ระดับปัญหา

1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                       2.77              3              ***
2. คณะรัฐมนตรี                                      2.94              1              ***
3. ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด   2.41              5               **
4. หัวหน้าหน่วยงาน ระดับต้น                    2.22              7                *
5. นักการเมืองในอบต.                            2.88              2              ***
6. นักการเมืองเทศบาล                            2.71              4             ***
7. ข้าราชการในกระทรวง กรม                    2.20              8                *
8. พนักงานส่วนท้องถิ่น                            2.41              6               **


2. ตัวปัญหาเชิงจริยธรรมในการบริหารระบบงานสาธารณะ
สถาบันและองค์กรอิสระ ประเภทระบบงานสาธารณะที่มีปัญหาเชิงจริยธรรมในระดับค่อนข้างมาก จำนวน 1 เรื่อง คือ คณะกรรมการกำกับการเลือกตั้ง ดังตารางที่ 7

ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยของปัญหาเชิงจริยธรรมของสถาบันและองค์กรอิสระ

ประเภทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ    ค่าเฉลี่ย   จัดลำดับ  ระดับปัญหา
1.สื่อมวลชน                                1.73         10             **
2.ศาล (ชั้นต้น,อุทธรณ์,ฎีกา)          1.77         19              *
3.ศาลรัฐธรรมนูญ                         2.57         18              *
4.ศาลปกครอง                             2.13         20              *
5.คณะกรรมการกำกับการเลือกตั้ง    2.90           5            ***
6.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน           2.32         15             **

3. กิจกรรมการบริหาร ประเภทระบบงานสาธารณะที่มีปัญหาเชิงจริยธรรมในระดับมาก จำนวน 4 เรื่อง ตามลำดับ ดังตารางที่ 8 คือ
(1) การกำหนดนโยบายในลักษณะที่เอื้อประโยชน์
(2) การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อตนเอง
(3) การจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ
(4) การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการ

ตารางที่ ค่าเฉลี่ยของปัญหาเชิงจริยธรรมของกิจกรรมการบริหาร
กิจกรรมการบริหารที่มักมีปัญหา                ค่าเฉลี่ย    จัดลำดับ  ระดับปัญหา
1.การจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ                  2.95             3         ***
2.การรับคนเข้าทำงานในระบบราชการ              2.46             5           **
3.การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการ      2.73             4          ***
4.การกำหนด นโนบายที่เอื้อประโยชน์              3.43             1        ****
5.การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อตนเอง      3.25            2         ****
6.การยินยอมปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน   2.38            6           **


4. ประเด็นที่ถูกวิพากษ์ แยกตามประเภทระบบบริหารงานสาธารณะ ที่มีปัญหาเชิงจริยธรรมมาก
(1) การกำหนดนโยบายในลักษณะที่เอื้อประโยชน์…..
     - หางานให้ครอบครัวและพวกตัวเองทำ
     - สร้างกติกาและข้อยกเว้นให้ครอบครัวและพวกได้ประโยชน์
     - หาเสียงโดยไม่คำนึงประโยชน์ที่ยั่งยืน และปัญหาระยะยาว
(2) การใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อตนเอง
     - หาประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่
     - ทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย
(3) การจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ
     - สมยอมกันล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
     - กำหนดคุณสมบัติเฉพาะเพื่อครอบครัวและพวก
     - คิดค่านายหน้า เพื่อให้ได้สัญญาจ้าง
     - รู้เห็นในผลงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานโดยไม่แก้ไข
(4)คณะรัฐมนตรี
     - ซื้อตำแหน่ง ร่วมบริจาคเพื่อตำแหน่ง
     - ใช้อำนาจหน้าที่ให้ได้มาซึ่งประโยชน์ตนและพวก
     - เลือกปฏิบัติ
(5) คณะกรรมการกำกับการเลือกตั้ง
     - ไม่เป็นกลาง
     - มีข้อกล่าวหาว่ารับสินบนแลกประโยชน์ผู้รับเลือก
(6) นักการเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบล
     - หางานให้ครอบครัวและพวกตัวเองทำ
     - ใช้อำนาจหน้าที่ให้ได้มาซึ่งประโยชน์ตนและพวก
(7) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
     - ซื้อ-ขาย เสียง
     - ไม่มองประเทศโดยรวม
(8) การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการ
     - เล่นพรรค เล่นพวก
     - ไม่ยึดหลักคุณธรรม
(9) นักการเมืองในระบบเทศบาล
     - หางานให้ครอบครัวและพวกตัวเองทำ
     - ใช้อำนาจหน้าที่ให้ได้มาซึ่งประโยชน์ตนและพวก

5. มาตรการที่สามารถแก้ไขปัญหาจริยธรรมเชิงบริหาร เรียงตามลำดับ ได้ดังนี้
(1) เพิ่มบทบาทของหน่วยงานกลางในการตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดระเบียบ
(2) การเพิ่มโทษผู้กระทำผิด และมุ่งใช้กฎ ระเบียบ แก้ปัญหา
(3) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายวิชาชีพ โดยเน้นที่มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
(4) การเพิ่มการฝึกอบรมโดยเน้นที่การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
(5) การปรับระบบการสรรหาคัดเลือกผู้ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงเกณฑ์การคัดเลือกด้านคุณธรรม จริยธรรม

ค. การบริหารงานพัสดุภาครัฐ
(ที่มา เฟื่องฟ้า เทียนประภาสิทธิ์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน)

ลักษณะจำเพาะของการบริหารงานพัสดุภาครัฐ

การบริหารงานพัสดุภาครัฐ เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก มีความแตกต่างจากงานบริหารทั่วไปโดยสิ้นเชิง เพราะทุกครั้งที่การจัดหาพัสดุเสร็จสิ้น ย่อมต้องมีผู้ได้ประโยชน์คือ ผู้ชนะการประมูล และมีผู้เสียประโยชน์คือ ผู้พลาดจากการประมูล  
การบริหารงานด้านพัสดุของหน่วยงานต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบฯที่กำหนด ต้องกำกับดูแลกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

ความเสี่ยงในด้านการจัดซื้อ
1.ความเสี่ยงเรื่องนโยบาย ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายและการวางแผนการจัดซื้อให้เหมาะสม โดยมองถึงผลประโยชน์ขององค์กร
2.ความเสี่ยงเรื่องคุณภาพ ของตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน คำนึงถึงคุณลักษณะและราคา
3. ความเสี่ยงเรื่องคุณลักษณะ (Specification) ยิ่งสินค้าที่มีคุณลักษณะยุ่งยากมากเท่าใด ความเสี่ยงของผู้ซื้อก็ยิ่งมีมากตามไปด้วย 
4.ความเสี่ยงในการตรวจรับของ หากคณะกรรมการตรวจรับของ ขาดความรู้ในขั้นรายละเอียดของมาตรฐานของสินค้าคุณภาพตาม Specification อาจทำให้เกิดผลเสียหายต่อทางราชการ และตัวคณะกรรมการได้
5.ความเสี่ยงเรื่องราคา การตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าภายใต้แนวความคิด Best Buy Policy ที่สำคัญที่สุดโดยทั่วไปจะตัดสินใจกันที่เรื่องราคา แล้วตามมาด้วยคุณภาพ
ความเสี่ยงในการจัดซื้อในเรื่องราคา
     - การจัดซื้อที่ได้สินค้าที่มีราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น
     - การสั่งซื้อในกรณีพิเศษ
     - การจัดซื้อสินค้าที่มีราคาถูกแต่ด้อยคุณภาพ
     - การจัดซื้อสินค้าที่มีราคาถูกแต่ผิดSpecifications
การทุจริตในธุรกรรม การจัดซื้อ จัดหาหรือจัดจ้าง
     - เกิดจากการรับสินบน
     - เกิดจากการฮั้วการประมูล
     - เกิดจากการกินเปอร์เซ็นต์ค่า คอมมิชชั่น

ความเสี่ยงในเรื่องบุคลากร
ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อสินค้า ต้องเป็นผู้ที่รอบรู้เกี่ยวกับระเบียบในด้านนี้พอสมควร ต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบ มิฉะนั้นจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่ตนเอง และ ผู้บังคับบัญชา

หลักการบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง
1. ต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดี โดยต้องมี Audit Committee
2.การให้ความสำคัญกับตัวบุคคล เริ่มจากการสรรหาหัวหน้าฝ่ายพัสดุรวมไปถึงบุคลากรทุกตำแหน่ง
     - มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์เป็นปัจจัยพื้นฐาน
     - มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ และแม่นยำในระเบียบพัสดุ
     - ต้องทำงานอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฎระเบียบ โปร่งใส และตรวจสอบได้   
3.สนับสนุนในการให้รางวัลหรือสิ่งจูงใจ และสร้างความก้าวหน้า ในสายงานพัสดุ
4. ผู้บริหารของหน่วยงาน ควรเป็นตัวแบบที่ดีในการไม่แสวงหาประโยชน์


ตัวอย่าง การกระทำที่มีระดับความเสี่ยงสูง

1.ไม่มีการควบคุมและแบ่งแยกหน้าที่ที่สำคัญ
     - ผู้ที่ทำหน้าที่พัสดุไม่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุโดยตรง และมอบหมายโดยไม่มีคำสั่งมอบหมายให้ชัดเจน
     - ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ที่ชัดเจน เช่น เจ้าหน้าที่การเงินและเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นบุคคลคนเดียวกัน
     - มอบหมายให้ลูกจ้างชั่วคราวช่วยปฏิบัติงานด้านพัสดุ โดยไม่ตรวจสอบและควบคุม

2.)  การแต่งตั้งคณะกรรมการและการทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดต่างๆ ไม่เหมาะสม
     - กรรมการบางคน มีการทับซ้อนผลประโยชน์ส่วนตัว และภารกิจของรัฐ
     - กรรมการบางคนขาดความรู้ ประสบการณ์ในพัสดุที่ตรวจสอบ
     - กรรมการมีภาระงานมาก ทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่พัสดุได้เพียงพอ
     - กรรมการถูกแทรกแซงโดยผู้บริหารระดับสูง ผู้มีอิทธิพล
     - ไม่มีฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของคณะกรรมการในเรื่องต่าง ๆ ที่ควรรู้
     - กรรมการไม่ทำหน้าที่ตามที่ระเบียบกำหนด
     - การพิจารณาและความเห็น ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักการของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
     - ควรจัดทำรายงานการประชุม และรับรองรายงานที่ถูกต้อง ครบถ้วน
     - ควรบันทึกความเห็นที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจะป้องกันกรรมการบางคนที่มีความเห็นที่แตกต่างและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
     - ไม่ทำรายงานสรุปความเห็นเสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ

3.) การกำหนดคุณลักษณะของพัสดุ และคุณสมบัติของผู้เสนอราคา
3.1 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ
     - ไม่มากไม่น้อยต่อความต้องการใช้งานตามปกติ โดยไม่มีที่มา
     - ไม่มีการสำรวจความต้องการ หรือสำรวจล่าช้า คิดไม่ออก คิดไม่ทัน และบางครั้งไม่รู้ว่าต้องการอะไร
     - พัสดุที่จัดหากับแผนปฏิบัติงานไม่สัมพันธ์กัน
     - ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับพัสดุที่จัดหา เพื่อใช้งานปกติ เช่น ปริมาณ และคุณลักษณะเฉพาะ
     - ไม่เปิดกว้างให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นระบบ
3.2 การกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคา
     - กำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาไม่เหมาะสม มากเกินไป น้อยเกินไป เกี่ยวกับผลงาน และทุนจดทะเบียนฯ
     - การกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ผลิตในประเทศ ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ
     - ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลของผู้เสนอราคา และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเพื่อการอ้างอิง
     - มีการสมยอมกันของผู้เสนอราคา ด้วยวิธีการต่างๆ

4.) การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
     - การคำนวณค่า Factor F ไม่ถูกต้อง
     - นำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซ้ำซ้อน (บางรายการรวมอยู่ในค่าครุภัณฑ์)
     - ราคาวัสดุต่อหน่วยที่นำมาคำนวณราคากลาง มีราคาสูงกว่าราคาตลาด/พาณิชย์
     - ตารางFactor F ที่ใช้คำนวณกับตาราง Factor F ที่ สตง.ใช้ตรวจสอบไม่ตรงกัน (และไม่จัดทำทะเบียนคุมตาราง Factor F)
     - ไม่มีการคำนวณตรวจสอบค่าKทุกครั้งที่มีการส่งมอบงาน
     - ใช้วัสดุไม่ถูกต้องตรงตามคุณลักษณะเฉพาะที่ ได้ยื่นขออนุมัติจากผู้ว่าจ้าง

5.) การบริหารสัญญา
     - อนุมัติให้ขยายเวลา/ต่อสัญญาโดยไม่มีเหตุผลสมควรตามความเป็นจริง สั่งให้หยุดงานโดยไม่มีเหตุผล เช่น ขยายเวลาให้มากกว่าที่ทำงานจริง
     - ไม่ขยายระยะเวลาตามสัญญาให้ผู้รับจ้าง เมื่อมีการร้องขอทั้งที่ทางราชการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ย่อหย่อน ล่าช้า
     - ผู้ควบคุมงาน/คณะกรรมการตรวจการจ้างใช้เวลาในการตรวจรับงานมากเกินความจำเป็น
     - ผู้ควบคุมงานไม่อยู่บริเวณงาน และไม่จัดทำรายงานตามความเป็นจริง
     - ผู้ควบคุมงาน/คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานโดยที่งานยังไม่เสร็จจริงตามข้อกำหนดในงวดงาน
     - มีการเปลี่ยนแปลงรายการแต่ไม่ได้แก้ไขสัญญา หรือจัดทำบันทึกแนบท้ายสัญญา
     - การก่อสร้างล่าช้ากว่าสัญญา ไม่มีการแจ้งการปรับและเร่งรัดการก่อสร้าง
     - ปริมาณงานใน BO2 (บัญชีปริมาณงาน) ไม่ถูกต้องตามแบบรูปรายการ ทำให้เกิดปัญหาในการตรวจรับ
     - สาระสำคัญในสัญญาบางประเด็นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขใน TOR และใบเสนอราคา
     - อนุมัติให้ขยาย/ต่ออายุสัญญา โดยไม่มีเหตุผล สมควรถูกต้องตามความเป็นจริง
     - ไม่จัดทำทะเบียนควบคุม ครุภัณฑ์/งานก่อสร้างที่อยู่ในระหว่างการประกันฯ

การบริหารความเสี่ยงตามหลักธรรมมาภิบาล
1.หลักกฎหมาย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ/พระราชกฤษฎีการะเบียบ/ข้อบังคับ/มติ ค.ร.ม./หลักเกณฑ์/วิธีการ/แนวปฏิบัติคู่มือปฏิบัติงาน  
     - กำหนดขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผู้มีอำนาจหน้าที่ฯ
     - มีความชัดเจน ไม่ซับซ้อน เข้าใจตรงกัน
     - มีความถูกต้องครบถ้วนทั้งรูปแบบและเนื้อหา (แบบฟอร์มต่างๆ)
     - มีความครอบคลุมต่อภารกิจที่จะต้องนำมาสู่การปฏิบัติงาน
     - การใช้ดุลยพินิจ ต้องชอบด้วยหลักกฎหมาย ข้อเท็จจริง และเป็นธรรม
2. หลักความรับผิดชอบ สาระสำคัญเกี่ยวกับ ผู้มีอำนาจหรือมีหน้าที่ หรือผู้หนึ่งผู้ใดที่กระทำการ
     - กระทำการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
     - กระทำโดยเจตนาทุจริต หรือโดยปราศจากอำนาจ นอกเหนืออำนาจหน้าที่
     - มีพฤติการณ์ที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
     - ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการหรือตามกฎหมายเฉพาะของส่วนราชการนั้น
     - นอกจากนี้ยังต้องรับผิดในทางแพ่ง ตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง
     - โทษปรับทางปกครอง ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางการเงินการคลังฯ
     - อาจต้องรับผิดทางอาญา (เจตนาทุจริต และเกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดิน
การทุจริตจะต้องเข้าองค์ประกอบของกฎหมายที่สำคัญ 3 ประการ
1.) เกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดิน
2.) เจตนากระทำการโดยการหลีกเลี่ยงหรือละเว้นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ
3.) เอื้อประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด
3. หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้
     - การเผยแพร่ประกาศสอบราคา ประกวดราคา และวิธีอิเล็กทรอนิกส์
     - ความถูกต้องตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้
     - วิธีการต้องเปิดเผย โปร่งใส ไม่ปกปิด ประกาศสอบราคา/ประกวดราคาถูกต้อง ทั้งเนื้อหาและรูปแบบตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
     - ตรวจสอบได้ทุกภาคส่วน เอกชน ประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้
4. หลักความคุ้มค่า
     - สมเหตุ สมผล ทั้งราคาและคุณภาพ
     - มีประโยชน์จากการใช้สอย หรือการดำเนินงาน
     - มีความประหยัด เหมาะสม ได้ผลตามเป้าหมาย
     - มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่เอื้อประโยชน์ใคร มุ่งรักษาประโยชน์ทางราชการ
     - เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
5. หลักการมีส่วนร่วม
     - สอบถามความต้องการจากผู้ใช้งาน ทั้งจำนวนคุณลักษณะเฉพาะที่จำเป็น
     - สอบถามความคิดเห็นสาธารณะ
     - เป็นไปตามหลักการและเงื่อนไขของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
     - สังเคราะห์ วิเคราะห์ ความคิดเห็นได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น
     - เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย

6. หลักคุณธรรม/จริยธรรม
     - ความรับผิดชอบ พร้อมรับผิดชอบต่อความเสียหาย
     - ส่งเสริมให้มีกิจกรรม  โครงการ เพื่อการเสริมสร้างจริยธรรมอย่างจริงจัง
     - มาตรการประหยัด : พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
     - มีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล อย่างจริงจัง
     - ควรจัดให้มีข้อกำหนดด้านจริยธรรม ให้เจ้าหน้าที่และผู้บริหารเกี่ยวกับการบริหารพัสดุ ขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
     - หากมีการละเมิด ละเว้น ข้อกำหนดด้านจริยธรรม  ก็ควรมีมาตรการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

การบริหารงานพัสดุให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
- มีการกำหนด นโยบาย และแผนปฏิบัติงาน (กิจกรรม,คน ,เงิน,และเวลา) โดยมี
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจน
- วัตถุประสงค์ของการจัดหาพัสดุสอดคล้องกับการดำเนินงาน
- จัดระบบการควบคุมภายในให้ครบถ้วน สอดคล้องกับมาตรฐานการควบคุมภายใน ควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ประเมินความเสี่ยง และบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เน้นการตรวจสอบ ควบคุมในกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง เช่น จุดควบคุมที่ระเบียบฯ กำหนดไว้
- จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติ สำหรับ เจ้าหน้าที่ และผู้ควบคุมกำกับ เพื่อการป้องกันความผิดพลาด เสียหาย
- คำนึงถึงวัตถุประสงค์การใช้ ราคายุติธรรม ประโยชน์ระยะยาว

ง.การป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น

สาเหตุที่การคอรัปชั่นแพร่หลายในสังคมไทย
1. คนไทยใจซื่อ รักพวกพ้อง ลูบหน้าปะจมูก บุญคุณต้องตอบแทนจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ มองว่าไม่ใช่เรื่องผิด
2. ระบบอุปถัมภ์และการเล่นพวก ทำให้การทุจริตทำได้แนบเนียนไร้ที่ติมากกว่าเดิม
3. เป็นการโกงแบบบูรณาการ และการครอบงำระบบ จนกลายเป็นเรื่องปกติ เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังเอาแบบอย่าง
4. ระบบการคอรัปชั่นเชิงนโยบาย/ทับซ้อน ผลประโยชน์ /ต่อยอดขยายผลพัฒนาไปเป็นรูปแบบ Holding Company ได้อย่างแยบยล
5. มีการบูรณาการรูปแบบคอรัปชั่นใหม่ แบบโกงกินโดยสังคมไม่รู้สึก เพราะไม่ได้โกงเงินงบประมาณแผ่นดิน แต่โกงแบบไม่จ่ายเงินสัมปทาน โกงแบบหาผลประโยชน์ทับซ้อน
6. การ"ทำ" หรือ "ไม่ทำ" อะไร ของผู้มีอำนาจล้วนส่งผลกระทบทั้งในทางลึก และ ทางกว้าง จนเกิดอิทธิพลฝังลึก ลงราก ยากแก่การรื้อถอน สืบต่อเป็นวัฒนธรรม ประเพณี มีเงิน มีพวก มีอำนาจ จนกลายเป็นเรื่องปกติ

งานวิจัยการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในระบบราชการในช่วงแรกปี2536                                (ที่มา:รศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร  คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2536)
       
จากงานวิจัยการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในระบบราชการในปี2532-2534 มีข้อค้นพบและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ รวม 4 ประเด็นดังนี้

1. ธรรมาภิบาล  มักถูกมองไปที่คอรัปชั่น โดยมีสมมุติฐานสำคัญ คือ :ระดับของอัตราการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับระดับของอัตราความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น
มีข้อสรุปที่สำคัญเกี่ยวกับสาเหตุของคอรัปชั่นในระบบราชการไทย
1) สาเหตุของการฉ้อราษฎร์บังหลวงของข้าราชการด้วยความไม่รู้ หรือด้วยความบริสุทธิ์ใจยังคงดำรงอยู่ค่อนข้างมาก
2) สาเหตุของการคอรัปชั่นของข้าราชการอยู่ที่ตัวระบบราชการ มากกว่าอยู่ที่ตัวข้าราชการในฐานะปัจเจกบุคคล ดังนั้นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวระบบราชการ
3คอรัปชั่นมิใช่เอกลักษณ์ของประเทศไทย ทุกประเทศมีปัญหาการคอรัปชั่น  เพราะข้าราชการ คือ มนุษย์ที่มีกิเลสคล้ายกัน แต่หลายประเทศพยายามแก้ปัญหาด้วยกระบวนการหลายขั้นตอนที่ต่อเนื่อง  สร้างวัฒนธรรมของความโปร่งใส ซื่อสัตย์ และ การแยกระหว่าง ส่วนตัว’ กับ สาธารณะ รวมทั้งการสร้างระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และลดแรงจูงใจให้ทำการคอรัปชั่นความแตกต่างในประเทศไทย คือ ยังไม่มีรัฐบาลใดมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นอย่างแท้จริง

2. รูปแบบการคอรัปชั่นหลัก แบ่งได้เป็น ประเภท
1) ระบบส่งส่วย (Syndicate corruption)
     วิธีการข้าราชการชั้นผู้น้อยเก็บส่วย หรือภาษีไม่เป็นทางการแล้วรวบรวมที่กองกลาง หลังจากนั้นแจกจ่ายรายได้ส่วยไปยังข้าราชการทั้งระดับสูงและล่างในกรม กอง  
2) กินตามน้ำการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement kickbacks)
     วิธีการ : สินบนการจัดซื้อจัดจ้าง       
3) การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจการบางประเภทที่ต้องได้สัมปทานจากรัฐบาล และเพื่อคงสภาพการผูกขาดนั้นไว้    
     วิธีการ : โดยการจ่ายสินบนเป็นการจ่ายประจำให้ข้าราชการหลายระดับ ในบางกรณีจ่ายทั้งกรม
4)  การคอรัปชั่นการประมูลโครงการ
     วิธีการ : หลายวิธีการ แต่โจ่งแจ้งที่สุดคือ การฮั้วกันระหว่างกลุ่ม ผู้เสนอประมูล เพื่อควบคุมการประมูลแล้วมีข้อตกลงเวียนกันเป็นผู้ชนะประมูลเป็นคราว ๆ ไป

3. มาตรการการป้องกันคอรัปชั่นในระบบราชการ
1) ปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ของการให้บริการประชาชนให้เรียบง่าย ลดโอกาสที่ข้าราชการจะใช้อำนาจเพื่อการคอรัปชั่น
2)  จับตาดูเพื่อประเมินพฤติกรรมคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ ในหน่วยงานที่มีการร้องเรียนเรื่องการคอรัปชั่นหนาหู หรือมีเหตุการณ์เกิดขึ้น อาจใช้ทั้งระบบจัดตั้งกล้องถ่ายวีดีโอ และการใช้สายสืบภายใน โดยไม่บอกให้ข้าราชการทราบ ส่วนหัวหน้าสำนักงานต้องหูตาไวเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ แสวงหาทางกระจายกลุ่มคนที่อาจรวมหัวกันตั้ง แก๊ง” ดังกล่าว
3) ลดโอกาสการคอรัปชั่น โดยการสับเปลี่ยนบุคคล หรือการโยกย้ายหน่วยงานที่ทำบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มจัดตั้งแก๊งหรือ Syndicate ในการคอรัปชั่น
4) จับตาดูพฤติกรรมของข้าราชการระดับหัวหน้างาน ซึ่งจากประสบการณ์ของประเทศต่าง ๆ พบว่า ข้าราชการระดับหัวหน้ามีแนวโน้มจะคอรัปชั่นสูง แล้วจึงหาวิธีการอันเดียวกัน จับตาดูพฤติกรรมของข้าราชการระดับรองลงมา
5)  ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลการเงินทุกระดับต้องได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นพิเศษ และต้องแจงมูลค่าทรัพย์สินของตนเองและครอบครัวแก่ทางการพร้อมหลักฐานทุกปี เพื่อป้องกันไม่ให้ร่ำรวยผิดปกติ
6) ทุกหน่วยงานที่มีปัญหาการคอรัปชั่นต้องมีหน่วยงานวิจัยลู่ทางการคอรัปชั่นในสำนักงาน รวมทั้งศึกษาลักษณะประเภทบุคคลที่มีแนวโน้มจะทำการคอรัปชั่นจากกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว
7) มีการทำIntegrity test หรือการทดสอบเรื่องความซื่อตรงของข้าราชการในหน่วยงานเป็นครั้งเป็นคราว
8) จัดตั้งศูนย์ทำการสำรวจทัศนคติของสาธารณชน เพื่อประเมินผลการทำงานและการคอรัปชั่นของข้าราชการในสำนักงาน

4.  ข้อเสนอแนะการจัดทำแผนการปราบคอรัปชั่น
(1)  แผนระยะสั้นถึงปานกลาง : ระบบส่วยและระบบสินบน  เพื่อการผูกขาดกิจการบางอย่าง หรือเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี    
     วิธีการยุทธศาสตร์เฉียบพลัน มีการวางแผนอย่างรัดกุมล่วงหน้า
     - เปิดโปงพฤติกรรมแล้วให้ผู้กระทำความผิดระดับสูงจำนวนหนึ่งลาหรือเกษียณออกจากราชการ
     - นิรโทษกรรมข้าราชการะดับล่าง และผู้ให้สินบน
     - ประกาศโทษร้ายแรงสำหรับผู้กระทำความผิดอีก (รวมทั้งผู้ให้สินบน)ในอนาคต
     - สิ่งที่ต้องทำก่อน : สืบสวนสอบสวนเป็นการลับ เพื่อหาแหล่งที่มาของเงิน กระบวนการรับเงิน การฝากเงิน (ธนาคารทั้งในและนอกประเทศบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องเป็นหัวโจกสิ่งที่ต้องทำระยะยาว
     - การปฏิรูประบบการคัดเลือก และการฝึกอบรม
(2) แผนปราบปรามกินตามน้ำการจัดซื้อจัดจ้างและการควบคุมการประมูลโครงการ
     วิธีการ: สร้างระบบข้อมูลการประมูลและกฎเกณฑ์ให้โปร่งใสที่สุด ที่ประเทศเม็กซิโก สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้จัดการเรื่องนี้และนำข้อมูลเรื่องการประมูลโครงการรัฐ(Federal government)ใส่อินเตอร์เน็ตอย่างเปิดเผย ใครก็เปิดดูได้ และจะแสดงรายชื่อบริษัทที่ชนะหรือแพ้การประมูลรวม ทั้งเหตุผล
     - มีระบบตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balances) ในกระบวนการกำหนดนโยบาย
     - ใช้กฎหมายป้องกันและมีบทลงโทษผู้ฮั้วการประมูล อย่างจริงจัง
(3) แผนระยะปานกลางและระยะยาว
      (1) ให้มีพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษ เพื่อสืบสวนสอบสวนกรณีอื้อฉาวสำคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจมาก เป็นกรณีสำคัญที่มีผลสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล หรือกระทบประสิทธิภาพการทำงานของระบบราชการอย่างมาก (ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำหน้าที่ในลักษณะนี้)
คณะกรรมาธิการพิเศษนี้ (คล้าย Royal Commission ของ ออสเตรเลียมีอำนาจหน้าที่หลักคือ
(สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อสืบสวนสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง
(เสนอแนะการดำเนินคดีตามกฎหมาย
(เสนอแนะการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือกฎระเบียบ หรือหลักปฏิบัติ(Codes of Conduct) เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
(เปิดเผยผลการสืบสวนสอบสวนให้สาธารณชนได้รับทราบ
     (2) ปรับปรุงการทำงานของป..ชให้มีการเจาะเน้นเฉพาะเรื่องการ
     - คอรัปชั่นสำคัญมากขึ้น เช่น เรื่องรูปแบบการคอรัปชั่น 4 ประเภท โดยจัดทำเป็นแผน5ปี เน้นเจาะเป็นเรื่อง
     - รณรงค์ให้ข้าราชการและสาธารณชน ตื่นตัวร่วมต่อต้านการคอรัปชั่น ให้การศึกษาอบรมเรื่องปัญหาการคอรัปชั่นเพื่อสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมใหม่ อาจขอความร่วมมือจากบริษัทโฆษณา สื่อทีวี หนังสือพิมพ์
     - การรณรงค์ให้เจาะเน้นไปที่ข้าราชการรุ่นใหม่ ใช้วิธีการทันสมัยที่โยงกับระบบแรงจูงใจ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสำนักงาน ก.และกระทรวงการคลัง
     (3) งานต่อต้านการคอรัปชั่นมิใช่เป็นเรื่องของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) เท่านั้น หน่วยงานอื่นต้องเข้ามีบทบาทด้วย เช่น ขยายขอบข่ายงานของ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อช่วยอุดช่องโหว่ของระบบการควบคุม และระบบบริหารราชการในปัจจุบัน
     - ให้ยกเลิกกฎเกณฑ์ที่จำกัดการทำงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้อำนาจมากขึ้นและให้ความอิสระ
     - เห็นควรให้ขยายขอบข่ายงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้ครอบคลุมการประมูลโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง
     (4) ปรับปรุงและลดกฎเกณฑ์ภายในกรมกองของข้าราชการอย่างต่อเนื่อง แล้วเปิดเผยกฎเกณฑ์อย่างโปร่งใส ถ้าเป็นไปได้ให้ลงอินเตอร์เน็ตให้ผู้คนเข้าถึงได้ (เม็กซิโกทำวิธีนี้ เรียกว่า Internal Deregulation)
     (5) มีขบวนการปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานราชการที่มีโอกาสมีปัญหาการคอรัปชั่นร้ายแรงได้อย่างต่อเนื่อง
     (6) พิจารณายกเลิกระบบผูกขาดโดยรัฐบาล และเสนอให้มีพระราชบัญญัติต่อต้านการผูกขาด (Anti-Monopoly Laws)


คอร์รัปชั่นในประเทศไทยยุคใหม่(ข้อมูลจากภาคีส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาเครือข่ายการ
เมืองของพลเมือง ปี
2551)
หลังจากมีการเสนอข้อมูลคอร์รัปชั่นในประเทศไทยในยุคพ.ศ.2536 ไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในการป้องกันและแก้ไขคอร์รัปชั่น ได้แก่ มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ..2542 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ.2547 และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551
อย่างไรก็ตามยังพบว่า สถานการณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยยังอยู่ในสภาวะน่าเป็นห่วง  ซึ่งจากข้อมูลของภาคีส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาเครือข่ายการเมืองของพลเมือง ในปี2551ได้รายงาน ข้อมูลสำคัญ 8เรื่องดังนี้

(1)  ภาพพจน์ของประเทศไทยด้านความโปร่งใส (จากการประเมินของTransparency International Organization) อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และคะแนนระดับต่ำมาก (2.7- 3.6 จากคะแนนเต็ม10) ตลอดมาตั้งแต่ปี 2538 -2547ปี 2551ก็ยังคงตกต่ำ ไทยได้ 3.5จาก10 คะแนน อยู่อันดับที่ 80 จากทั้งหมด 180ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 13 จาก 32 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค

(2) พบคดีคอร์รัปชั่นที่เข้าสู่การพิจารณาของ ป.ป.ช.จำนวนสูง
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.ได้รายงานว่าผลงานในช่วง เมษายน 2542 - ธันวาคม 2546 ได้รับเรื่องไว้ดำเนินการ 10,556เรื่อง ดำเนินการเสร็จ 4,722 เรื่อง คงเหลือ 5,834 เรื่อง
ในจำนวนนี้มีผลการดำเนินคดีทั้งทางวินัยและอาญา โดยแบ่งเป็นการดำเนินคดีทางวินัย ได้ส่งผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษทางวินัย 176 เรื่อง ซึ่งต้นสังกัดดำเนินการลงโทษแล้ว จำนวน 104 เรื่อง และอยู่ระหว่างต้นสังกัดดำเนินการ72 เรื่อง ส่วนดำเนินคดีทางอาญา ได้ส่งอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีอาญาต่อศาล211 เรื่อง ซึ่งอัยการสูงสุดได้ฟ้องคดีแล้ว 73 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาสำนวนของอัยการสูงสุด 132 เรื่อง และอยู่ระหว่างการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เรื่อง

(3) ค่าประมาณความเสียหายของรัฐจากคอร์รัปชั่นในการก่อสร้างในช่วง16 ปี (พ.ศ.2530 - 2545) ประเมินว่างบประมาณค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างบวกกับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจรวม 4.2 ล้านล้านบาท ถ้ามีการทุจริต 30%จะคิดเป็นมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาทหรือประมาณ 750,000 ล้านบาท/ปี
(4) ทัศนคติของเยาวชนไทยด้านคอร์รัปชั่น น่าเป็นห่วง
ผลสำรวจความเห็นของเยาวชนด้านคอร์รัปชั่นขององค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย จากนักเรียนมัธยมปลายทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค 38 โรงเรียน จำนวน 2,304 คน ในปี 2546   นักเรียนตอบว่า ใช่ ซึ่งเป็นทัศนคติที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ดังนี้
n  ทัศนคติ คนซื่อสัตย์มากเกินไปก็ถูกคนอื่นเอาเปรียบ ตอบ ใช่“ ร้อยละ83.5
n  ทัศนคติ การทุจริตคอร์รัปชันเป็นวัฒนธรรมที่สังคมไทยไม่อาจแก้ไขได้แล้วตอบ ใช่ สูงร้อยละ 34.4
n  ทัศนคติ โกงได้บ้าง แต่ต้องมีผลงานและทำให้ประโยชน์ให้สังคม” ตอบใช่ ร้อยละ 51
n  ทัศนคติ การทำธุรกิจแบบตรงไปตรงมา ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขัน” ตอบใช่” ร้อยละ 38.9
n  ทัศนคติ การให้ค่าตอบแทนเล็ก ๆ น้อยๆ แก่ข้าราชการไม่เป็นเรื่องเสียหาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่องาน ตอบ ใช่ ร้อยละ 44.9
         (5) ได้เกิดกรณีการคอร์รัปชันแบบใหม่ที่กว้างกว่าการทุจริตวิธีดั้งเดิมตัวอย่างเช่น
          - การสร้างนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้องหรือบุคคลของกลุ่มโดยมีวาระซ่อนเร้น
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำให้นักการเมืองได้หุ้นเป็นจำนวนมาก

(6) ขนาดของปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในองค์กรภาครัฐ ข้อมูลจากการนำเสนอของรศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศธร สถาบัน TDRI พบว่า
-เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ได้มีข้อห้ามกันไว้ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539, รัฐธรรมนูญ มาตรา331 (2), พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แต่นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงไม่ให้ความสำคัญ โดยได้พบปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์ทับซ้อนในหลายหน่วยงาน จากการวิจัยหน่วยราชการดังนี้
1) จำนวนหน่วยราชการที่ศึกษา แห่ง มีปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์ทับซ้อน 19 แห่ง คิดเป็นร้อยละ100
2) จำนวนชุดของคณะกรรมการ 20 ชุด มีปัญหาความขัดแย้ง16 ชุด ผลประโยชน์ทับซ้อน คิดเป็นร้อยละ80
3) จำนวนกรรมการ 299 คน มีปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์ทับซ้อน84คน คิดเป็นร้อยละ28

(7) ผลกระทบคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายคือ มีนโยบาย มีคนกำหนดนโยบาย มีคนตั้งเรื่อง และมีผลประโยชน์ทับซ้อน ดังปรากฏในรูปแบบดังนี้
1)  การจัดซื้อจัดหา คือ ตั้งราคาจัดซื้อจัดหาให้แพงกว่าราคาตลาดแล้วเรียกค่าหัวคิว หรือ คอมมิสชั่น
2) การให้สัมปทานและสิทธิพิเศษในธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่นเหล้า โทรศัพท์ ทางด่วน รถไฟใต้ดิน ฯลฯ
3) การขายสาธารณสมบัติ ทำราคาขายให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะภาคธุรกิจเอกชนชอบซื้อถูกขายแพง แต่รัฐชอบซื้อแพงขายถูก
4) การกำกับดูแลในธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาดโดยธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจสาธารณูปโภคสาธารณูปการ

(8) ข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคประชาชน

(8.1) ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 20สิงหาคม 2547
1) ให้จัดงบประมาณปีละ 500 ล้านบาท สนับสนุนงานวิจัยคอร์รัปชั่นโดยผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2) สนับสนุนให้มีคนทำ กายวิภาคหรือกลไกกระบวนการของคอร์รัปชั่น
3) สนับสนุนสื่อมวลชนทำการสืบสวนสอบสวน ให้สื่อมวลชนเข้มแข็ง
4) ทำกระบวนการขององค์กรอิสระให้เป็นกระบวนการสาธารณะโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนของสำนักงาน ป.ป.ช. ป.ป.ง. ส.ต.ง. ฯลฯ
5) ตัดวงจร ประสาน คือ อำนาจการเมือง ข้าราชการและนักธุรกิจ โดยกำหนดให้การแต่งตั้ง อธิบดี และปลัดกระทรวงเป็นกระบวนการสาธารณะให้ผู้คนรับรู้ และให้การทำงานของคนเหล่านี้มีวาระ (เทอม) ที่แน่นอน เช่น 4-5 ปี เพื่อให้ตั้งใจทำงานเพื่อบ้านเมือง
6) ติดตามตรวจสอบการทำงาน ต้องโปร่งใสโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสาธารณะที่เป็นรูปธรรม
7) การจัดทำโครงการขนาดใหญ่ต้องมีการจัดการที่ถูกต้อง มีส่วนร่วม และมีการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้านสังคมและสุขภาพ
8) ต้องสร้างจิตสำนึกในการสุจริต โดยอัญเชิญพระราชดำรัสของพระราชินีที่ว่า "คนจนแต่ซื่อสัตย์ ดีกว่าคนรวยที่โกง"

(8.2) ข้อเสนอจากเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น (เมื่อวันที่ 27กรกฎาคม 2544)
1) จัดตั้งกองทุนสนับสนุนให้สื่อมีส่วนร่วมการตรวจสอบและต่อต้านคอร์รัปชั่น 
2)  แก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ในประเด็น อายุความ รางวัลชี้เบาะแส เพิ่มหน่วยงานแบ่งเบาป.ป.ช.และกระบวนการสรรหาป.ป.ช.
3) ทบทวนกฎหมายและระเบียบวิธีการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
4) ทบทวน กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
5) ให้หน่วยงานท้องถิ่น/รัฐเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างลง internet
6) ให้ส่งเสริมข้าราชการทำงานเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม
7) ใช้สื่อของรัฐรณรงค์สร้างกระแสนิยมต้านทุจริต
8) ดูแลการจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
9) ให้ภาคประชาชนได้ใช้เครือข่ายวิทยุ-โทรทัศน์ของรัฐเพื่อสร้างเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น





1 ความคิดเห็น:

เบื่อโว้ย กล่าวว่า...

ภูเก็ตยังมีอํามาตย์ด้านมืดที่ทําให้อํามาตย์ที่ดีต้องเปื่อนสีดําไปด้วยเมืองไทยไม่ไปข้างหน้าซักที

ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12



ข้อกฎหมาย

Item Thumbnail



Item Thumbnail


Item Thumbnail




มาตรา59ตรี หากเนื้อที่ใหม่ต่างจาก ส.ค.๑ให้ออกเท่าที่ทำประโยชน์โดยปฏิบัติไปตาม ระเบียบคณะกรรมการจัดฯ ฉ.12..ซึ่งระบุว่าถ้าออกตาม 59ตรี มีระยะและข้างเคียงตรงตาม ส.ค.๑ ออกเท่าที่ทำประโยชน์แล้วแต่ไม่เกินจำนวนที่คำนวณได้...ตรงนี้ไม่โอกาสเป็นไปไม่ได้ ระยะกว้างยาวอย่างละเส้น วัดใหม่ได้อย่างละเส้น ข้างเคียงตรงกับ ส.ค.๑ ออกได้เลย 1 ไร่ แต่ถ้าทำประโยชน์แล้วคำนวณได้แค่2งาน ก็ให้ออกได้แค่2งาน ส่วนที่เหลืออีก2งานไม่ออกให้....จึงมีขยักที่สอง...หากระยะผิดพลาดคลาดเคลื่อน...ออกเท่าที่ทำประโยชน์โดยต้องมีการรับรองเขตครบ....คำว่ารับรองเขตครบเป็นอย่างไร ได้ขยายความไว้ใน

ข้อ9 ของระเบียบฯ....จดป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า...ใช้ระยะเป็นหลัก....เพราะไม่สามารถพิสูจน์ไปได้ไกลขนาดใหนถึงจะถึงป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า เท่ากับในขณะที่แจ้ง.....ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิตาม ป.ที่ดินเท่ากับขณะที่แจ้ง..ส่วนที่ไม่ได้แจ้ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ "คำว่าออกโฉนดต้องมีการรับรองเขตให้ครบ แล้วขยายคำว่าครบเป็นอย่างไรนั้น" เลยถูกนำมาใช้ทุกกรณี....โดยคิดว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยถูกต้องแล้ว....และก็รักษาสิทธิให้ข้างเคียงจัง....ทำให้ข้างเคียงหรือทุกส่วน มองเป็นหน้าที่ของที่ดินไปเสียแล้ว


Item Thumbnail

ดูชัดๆเลยครับ 12 ข้อ 10 กรณีที่ด้านใหนติดป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า

ความหมายน่าจะพูดถึงที่ดินที่จดที่ว่างเปล่าบนข้อเท็จจริงตามปัจุบัน ไม่ใช้ในสค1ระบุอย่างไรก็ถือตามนั้น กรมที่ดินควรตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเพื่อหาข้อยุติในการบริการประชาชน



Item Thumbnail


ท่านอธิบดีครับฉ12ข้อ8 วรรค 2 กรมสั่งไม่ให้ใช้หรือครับ


ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 8 วรรค 2

กรณีที่ระยะเเนวเขคผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้พนักงานที่ออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เท่าจํานวนเนื้อที่ได้ทําประโยชน์เเล้วเมื่อผู้มีสิทธิ์ในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองเเนวเขตไว้เป็นการถูกต้องครบถ้วนทุกด้าน