กฎหมาย ของประเทศเเต่ละจังหวัดจะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันตามที่รัฐธรรมนูญไทยเขียนไว้ว่ารัฐไทยเป็นรัฐๆเดี่ยวจะเเบ่งเเยกไม่ได้เเต่ที่ดินจังหวัดภูเก็ตใช้กฎหมายคนละฉบับกับที่ดินทั่วประเทศ
คนจนเวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม มันจุกอกหายใจไม่ออก เฝ้าถามตัวเองว่าเพราะเกิดมาจน จึงไม่ได้รับความเป็นธรรม
ข้าพเจ้าด้วยความน้อยเนื้อตํ่าใจในวาสนาที่ฝันว่าจะได้มีโฉนดจากที่ดินที่ทํามาหากินมาด้วยความสุจริตเเละยังอุทิศที่ผ่ากลางที่ให้เป็นทางสาธารณะด้วยใจที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันข้าพเจ้ายังมีกําลังใจเพราะข้าพเจ้าเชี่อในกรรม ดีที่ทํามาตลอดเเละข้าพเจ้าเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินของข้าพเจ้าไม่ติดที่ป่าหรือที่รกร้าง ข้าพเจ้าจึงขอวิงวอนเเละขอถามท่านนายกว่า ทำไมถึงมีการรับรองเเนวเขตครบทุกด้านรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่43 มีมติว่า สค 1 ถูกต้อง ออกให้ผู้ขอ ได้เต็มเเปลงเเละที่ดินข้างเคียงไม่เป็นที่หลวงหวงห้ามเเต่อย่างใดและข้าพเจ้าไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ประกาศครบ30วันไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้านเมื่อเจ้าพนักงานที่ดิน พิสูจน์ไม่ได้ว่าสค1 จดที่ว่างเปล่าทําไม.ข้าพเจ้าต้องกันระยะที่ดินออกไป5ไร่ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิด..และหากเจ้าหน้าที่ที่ดินเชื่อว่าสค1-ของข้าพเจ้าจดป่า ทําไมถึงออกประกาศ 30 วันไม่มีผู้โต้เเย้งสิทธิซึ้งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกโฉนด

ซึ้งตามกฎหมาย ในเมื่อข้างเคียงมิได้ใช้สิทธิ์คัดค้านนำชี้เขตหรือนำรังวัดหรือให้ถ้อยคำต่าง ๆก็ต้องพิจารณาว่ามีกฏหมายหรือระเบียบให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างไรหรือไม่ซึ่งก็คือตามนัยดังกล่าว

ระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินเเปลงนี้




Item Thumbnailบั

ระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินเเปลงนี้ บันทึกข้างเคียงเปลี่ยนเเปลง( ทด 16) ดูเอกสาร

ตามข้อ15(1)เเละ(2)ตามกฎกระทรวง ฉบับที่43 2537ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมาลกฎหมายที่ดินพศ2497เเละข้อ6วรรคหนึ่งของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรังวัดปลักหลักหมายเขตที่ดินพศ2527


โฉนดที่ดิน สีส้ม มีถนนตรงกลางข้าพอุทิศให้เป็นทางสาธรณะ

สีฟ้า ช้างเคียงโดยรอบ ในสค1 เขียนว่า


ชึ้งใน สค 1ระบุว่า ทิศเหนือจด ที่ดินว่างเปล่า ปัจุบัน ข้อเท็จจริง ได้ออก นส 3 ก

ใน สค 1ระบุ ทิศใต้จด ที่ดินว่างเปล่า ปัจุบัน ข้อเท็จจริง ที่ครอบครอง นาย รัตน์ ดูเอกสาร

ใน สค 1ระบุ ทิศตะวันออก จด ที่ดินนายไข่ ไชยศรี

ปัจุบัน ข้อเท็จจริง จด ที่ดินนายไข่ ไชยศรี

ใน สค 1ทิศตะวันตกจด ที่ดินว่างเปล่า ปัจุบัน ข้อเท็จจริง ที่ครอบครอง นางพรวิไล


ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย

1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2.ชี้ระวางแผนที่
3. รับคำขอ สอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียม
4. ฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด
5. ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หมายข้างเคียง

6. รับหมายแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัดรับหลักเขตที่ดิน

ข้างเคียงลงชื่อรับรองเเนวเขตครบทุกด้านถูกต้องดูเอกสาร รับรองสําเนาถูกต้องโดยที่ดิน

7. ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัด พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ที่ดิน

8. คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่โฉนดที่ดิน
9. เจ้าพนักงานที่ดินประกาศการแจกโฉนดที่ดิน 30 วัน

ประกาศครบ30วัน ไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้าน

10. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ

ประกาศครบ30วัน ไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้าน

11. เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีขอออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครองหรือกรณีเนื้อที่เกิน 50 ไร่ ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ที่เเปลงนี้มีสค1
12. ส่งเรื่องให้คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 ตรวจสอบกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้

คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่43 สค 1 ถูกต้อง ออกให้ผู้ขอ ได้เต็มเเปลง ดูเอกสาร

-ป่าไม้รับรองไม่ติดอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ดูเอกสาร ทั้งนี้ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในหนังสือดังกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือผู้ใดโต้แย้งสิทธิในที่ดินถ้าข้อเท็จจริงจดป่าป่าไม้ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดน157เพราะไม่โต้เเย้งสิทธิเเละเป็นหนึ่งในคณะ-

กรรมการตามกฎกระทรวงตามกฎ43ที่ลงมติรับรองที่เเปลงนี้

ที่ดินว่างเปล่าทางทิศ เหนือ ทิศใต้ เเละทิศตะวันตกซึ้งปรากฎในสค1 เเปลงนี้ ได้รับการรับรองจากผู้ปกครองท้องที่เเล้วว่าไม่เป็นที่ห่วงห้ามประเภทใดทั้งสิ้น

-มีการปักหมุดเขตเเน่นอนเเล้ว


13. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอและแจ้งเจ้าของที่ดินมารับโฉนด

เเต่กลับออกคําสั่งให้กับผู้ขอ

"ห้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด" โดยอ้างเหตุ

สค1 จดที่รกร้างว่างเปล่าก็ต้องถือระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 10 ในกรณีที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าเเละระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฎในหลักฐานเเจ้งการครอบครองให้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด

คําสั่งข้างตีนนี้ ถ้าผู้ปฎิบัติที่มีหน้าที่ต้องเข้าใจถึงขั้นตอนเเละระเบียบปฎิบัติของกฎหมายว่าอยู่ในขั้นตอนใหน ซึ้งเป็นขั้นตอนที่ปฎิบัติตามหน้าที่ตามที่กรมที่ดินใช้มานานเเล้วไม่ใช้ระเบียบใหม่ซึ้งกรมที่ดินได้ออกระเบียบลดขั้นตอนเพื่อให้ข้าราชการของกรมที่ดินได้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกกรมคงเห็นว่า ขั้นตอนที่มีอยู่นั้นท็าให้การปฏิบัคิหน้าที่งานล่าช้า เเต่ก็เกิดคําถาม ว่ากรมที่ดินสํานักมาตราฐาน มีต๋าตอบให้ประชาชนว่าเเนวทางใหนที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่ใช้กัน


ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. 2542 และประกาศกรมที่ดินเรื่องการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ลงวันที่ 15 กันยายน 2547

ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. 2542 ออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2532 ซึ่งปัจจุบันระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีบางฉบับ พ.ศ. 2546 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2546 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 ให้ส่วนราชการดำเนินการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนลง 30-50% จากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 และสอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กรมที่ดินจึงได้ออกประกาศกรมที่ดิน เรื่อง การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547 เพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน และให้บริการของกรมที่ดินมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของประชาชน สำหรับรายละเอียดของระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชน พ.ศ. 2542 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศกรมที่ดิน เรื่อง การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547

ตอบโดย ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพกรมที่ดิน ราชการบริหารส่วนกลาง

14. แจกโฉนดที่ดินให้ผู้ขอ

ขั้นตอนสุดท้ายข้อ14ประชาชนจึงไม่ต้องการมาออกโฉนดกันโดยความจริงใครบ้างไม่ต้องการออกโฉนด




---------------------------------------------------------------


นายกฯประกาศเชิญชวนประชาชนทุกคนทุกฝ่าย

ร่วมเดินหน้าปฏิรูประเทศไทย" ย้ำรับฟังทุกเสียง-ทุกความคิด


วันนี้ประเทศไทยต้องเดินหน้า แต่ความโกรธ ความเคียดแค้นและความชิงชัง ไม่สามารถสร้างอนาคตให้ประเทศไทยและลูกหลานไทยได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะปรองดองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย รวมใจเป็นหนึ่งเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ สร้างความเสมอภาค สื่อสารถึงกันอย่างสร้างสรรค์ ค้นหาและยอมรับความจริง โดยมีการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย มีประสิทธิภาพและโปร่งใส


เรียนท่านนายกรัฐมนตรี


เรี่อง ขอความเป็นธรรม

ข้าพเจ้านําสค1ที่ระบุระยะจดที่รกร้างว่างเปล่าทั้ง3ด้านเเละถ้าข้อเท็จจริง จดป่าหรือที่ว่างเปล่าจริงตามที่ทางที่ดินจังหวัดม ีหนังสือถึงข้าพเจ้า

โดยมีใจความว่า

"ฝ่ายทะเบียนพิจรณาเเล้ว กรณึสค1 มีข้างเคียงด้านหนี่งด้านใด หรือหลายด้านจดป่าหรือจดที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยใช้ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่12พศ (2532)ข้อ10 ได้กําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินให้ตามระยะที่ปรากฎในสค1เท่านั้น "เอกสารประกอบ


การที่ข้าพเจ้าได้ขอออกโฉนดโดยอาศัยหลักฐาน สค 1 ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง (สค1) จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน (. 2497) มาตรา ๕๙ ตรี ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครองตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ..๒๔๙๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์ ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด รวมถึง


ข้าพเจ้าด้วยความน้อยเนื้อตํ่าใจในวาสนาที่ฝันว่าจะได้มีโฉนดจากที่ดินที่ทํามาหากินมาด้วยความสุตริตเเละยังอุทิศที่ผ่ากลางที่ให้เป็นทางสาธารณะด้วยใจที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันข้าพเจ้ายังมีกําลังใจเพราะข้าพเจ้าเชี่อในกรรม ดีที่ทํามาตลอด

เเละข้าพเจ้าเชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินของข้าพเจ้าไม่ติดที่ป่าหรือที่รกร้าง ข้าพเจ้าจึงขอวิงวอนเเละขอถามท่านนายกว่า ทำไมถึงมีการรับรองเเนวเขตครบทุกด้านรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่43 มีมติว่า สค 1 ถูกต้อง ออกให้ผู้ขอ ได้เต็มเเปลงเเละที่ดินข้างเคียงไม่เป็นที่หลวงหวงห้ามเเต่อย่างใด และข้าพเจ้าไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ประกาศครบ30วัน ไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้านเมื่อเจ้าพนักงานที่ดิน พิสูจน์ไม่ได้ว่าสค1 จดที่ว่างเปล่าทําไม.ข้าพเจ้าต้องกันระยะที่ดินออกไป5ไร่ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิด..และหากเจ้าหน้าที่ที่ดินเชื่อว่าสค1-ของข้าพเจ้าจดป่า ทําไมถึงออกประกาศ 30 วันไม่มีผู้โต้เเย้งสิทธิซึ้งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกโฉนดที่ิ ดินเเละที่สําคัญ ก็ต้องเเจ้งความดําเนินคดีกับ คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่43 ที่ีมีต้วเเทนที่ดินจังหวัด ร่วมอยู่ด้วย ในข้อหา ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เเ ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ (ม 157)เพราะที่ดินเชื่อว่าสค1เเปลงนี้จดที่ว่างเปล่าช้าพเจ้าไม่ต้องการเอาผิดกับใครเพราะทุกคนก็มีครอบครัวที่ต้องดูเเลเเต่ไม่อยากให้คนอื่นๆต้องมาเจอปัญหาเช่นนี้คนจนเวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม มันจุกอกหายใจไม่ออก เฝ้าถามตัวเองว่าเพราะเกืดมาจน จึงไม่ได้รับความเป็นธรรมเห็นชัดว่าถูกเเต่ทําอะไรไม่ได้ หรือว่านี้คือปัญหาที่ได้ยินตามวิทยุว่า

ปฏิรูปประเทศไทยร่วมกันเเก้ไขจะได้ปฏิบัติเป็นมาตราฐานเดียวกัน


ด้วยความเคารพอย่างสูง

จรัญ หนูพู่

ขอความเป็นธรรมขั้นพี้นฐาน





ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2532) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หมวด 2 ข้อ 10. บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่ที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า และระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ให้ถือระยะที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์"

ส่วนข้อ 8. วรรคสองบัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่ระยะของแนวเขตที่ดินผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้ว เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตไว้เป็นการถู

ประชาชนจึงมีคําถาม


"ห้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด" โดยอ้างเหตุ

สค1 จดที่รกร้างว่างเปล่าก็ต้องถือระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 10 ในกรณีที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าเเละระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฎในหลักฐานเเจ้งการครอบครองให้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด ถือว่าเจ้าหน้าที่ ดำเนินการรังวัดออก โฉนด. โดยมิชอบ

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องถูกลงโทษทางวินัยและอาญาเมื่อดูแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีประเด็นว่าเป็นที่หลวงหวงห้าม แต่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ประชาชนย่อมมีสิทธิ์เข้าไปครอบครองโดยเปิดเผยครับแม้ที่ว่างเปล่าได้สละการครอบครอง ผู้ครอบครองต่อมาย่อมได้รับ"สิทธิ์ครอบครอง"แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่ง และสามารถนำที่ดินนั้นไปขอออกโฉนด โดยมิได้แจ้งการครอบครองได้เพราะไม่ใช่ที่หลวงหวงห้าม ซึ่งเป็นข้อห้ามการออกโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดินการพยายามบอกกับสังคมว่าเป็นที่หลวงต้องเอาคืน ไม่มีตรงไหนที่บอกว่า เป็นที่หลวง....มันเป็นการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบซึ่งมีหลากหลายสาเหตุแต่ที่ดินที่เข้าไปทำประโยชน์นั้น หากเป็นคนไทยเข้าไปทำประโยชน์โดยเปิดเผยต่อเนื่อง ย่อมได้สิทธิ์ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯอยู่แล้วการออกเอกสารสิทธิ์ให้เป็นเพียงเป็นการรับรองโดยทางราชการเท่านั้นเองคนเรียนกฎหมายย่อมซึมซับเรื่องสิทธิ์ในที่ดินและเอกสารสิทธิ์ เค้ารู้ว่ามันเป็นคนละเรื่องส่วนเจ้าของในปัจจุบันได้สิทธิ์นั้นโดยการครอบครองแล้วครับเพราะได้สิทธิ์ในที่ดินด้วยการเข้าทประโยชน์แล้วออกโฉนดได้ ไม่มีปัญหา...เป็นโฉนดใหม่นะครับ...( แต่จะเป็นโฉนดหลังแดง ห้ามโอน ห้ามซื้อขายภายใน 10 ปี เพราะไม่ได้แจ้งการครอบครอง )หากมีการเดินสำรวจทั้งตำบล ก็ขอออกโฉนดได้ นำทำการรังวัดได้เลยหากไม่มีการเดินสำรวจทั้งตำบล สามารถรอขอออกใบจอง แล้วนำใบจองไปขอออกโฉนดเฉพาะรายที่สำนักงานที่ดินโฉนดเก่า หรือ นส. 3 . เก่า ก็ยกเลิกไปเรื่องเอกสารสิทธิ์ กับสิทธิครอบครอง เป็นคนละเรื่องกันก่อนออกโฉนดใหม่หลังจากทำการสอบสวนและทำการรังวัดใหม่แล้ว ต้องปิดประกาศ 30 วัน หากไม่มีผู้คัดค้าน ก็ออกได้เลยหากมีผู้ร้องค้าน ก็จะเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินเรียกทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ยที่สำนักงานที่ดินหากตกลงกันได้ก็จบ ออกโฉนดได้ หากเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่าผู้ร้องค้านไม่มีเหตุผลเพียงพอ ก็สั่งออกโฉนดได้ ( เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่ดิน )กรณีนี้หากผู้ร้องคัดค้านเห็นว่าเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ก็ไปร้องต่อศาลเอาเอง
กรณีที่ 2 หากผู้ร้องคัดค้านไม่ยินยอม เจ้าพนักงานที่ดินเห็นตามผู้ร้องคัดค้าน ก็จะไม่ออกโฉนดให้ ( เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่ดินเช่นกัน )ผู้ขอออกโฉนดก็นำเรื่องร้องต่อศาล...สุดท้ายศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าที่ดินดังกล่าว สามารถออกโฉนดให้แก่ผู้ร้องได้หรือไม่ท้ายที่สุดเรื่องจะไปจบลงที่ศาลทั้งนั้น หากเป็นไปตามนี้..เพราะมิใช่ กันระยะโดยเหตุ"ทับที่หลวง" แต่เป็นเรื่องออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบซึ่งยังคงมีที่ดินบางแปลงมีกรณีพิพาทกันอยู่เจ้าหน้าที่ จะเป็นฝ่ายเสียหายซะเองยิ่งมาตอกย้ำว่า...สค1 จดที่รกร้างว่างเปล่า ต้องกันระยะ


ซึ้งตามกฎหมาย ในเมื่อข้างเคียงมิได้ใช้สิทธิ์คัดค้านนำชี้เขตหรือนำรังวัดหรือให้ถ้อยคำต่าง ก็ต้องพิจารณาว่ามีกฏหมายหรือระเบียบให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างไรหรือไม่ซึ่งก็คือตามนัยดังกล่าว


กรณีปัญหาที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ เเต่เเนวทางปฎิบัติเเตกต่างจากจังหวัดภูเก็ต

ด้านนายจำลอง โพธิ์เพชร หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย เปิดเผยว่า ที่ดินงอกกับที่ดินเพิ่มไม่เหมือนกัน ข้อเท็จจริงเป็นการเพิ่มจากการรังวัดตามแนวเขตที่ดิน ซึ่งตามแนวเขตในหนังสือส..1 ได้แสดงลักษณะผังที่ดินประกอบไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่การรังวัดเป็นโฉนดที่ดินต้องใช้วิธีการตรรกะ (การคำนวณกราฟ) ปักหมุดตามหลักเขต ฉะนั้นรูปที่ดินในโฉนดที่ออกมาจะเปลี่ยนไปตามแนวที่วัดได้และส่วนที่เพิ่มมา ต้องเป็นไปตามเขตที่ดินดังกล่าว

นายจำลองกล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่การรังวัดโฉนดเป็นไปได้ทั้งเนื้อที่ลดหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ต้องเป็นไปตามการรังวัดของเจ้าหน้าที่ และต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงเซ็นชื่อรับทราบยอมรับในแนวเขตดังกล่าว อย่าลืมว่าที่ดินบนเกาะสมุยมีราคาแพงคงไม่มีใครยอมให้คนอื่นมาบุกรุกกินเนื้อที่ของตนไปแน่ และหากเจ้าของที่ข้างเคียงไม่ยอมเซ็นชื่อก็ออกโฉนดให้ผู้ขอไม่ได้


สื่อมวลชลให้ความสนใจในเรื่ิองนี้

ละเอียดข่าว


กาขาว [ 13 ]


หนังสือพิมพ์เสียงใต้รายวัน ประจำวันที่ 16 มิถุนายน ..2553... ขอเชิญชวนพสกนิกรร่วมกันแสดงถึงความจงรักภักดีและลงนามถวายพระพร...

สำรวจตัวเลขยื่นคำร้องขอกรรมสิทธิ์ที่ดินบนเกาะภูเก็ต 1,400 ราย ที่ออกเอกสารไม่ได้ เป็นปัญหาโลกแตกสำหรับเกาะภูเก็ตหลายมาตรฐาน อย่างที่มท.3” ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ชี้ว่าเป็นปัญหาที่ลาดชัน-ควนเขา”...z กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 43”ให้อำนาจผู้ว่าฯแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ที่ดิน, ป่าไม้, นายอำเภอ, พัฒนาการที่ดิน และผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันตรวจสอบที่ดินที่มีปัญหา และการครอบครองก่อน ..2497 โดยเฉพาะ..1”...z ขั้นตอนนี้กรมที่ดินได้ประกาศให้ราษฎรที่ครอบครองขอออกโฉนดปัญหาที่จะถกเป็นประเด็นว่า..1”ที่ดินที่ครอบครองน้อยกว่าเป็นจริง เพราะการเลี่ยงภาษี”...z นี่เป็นประเด็นหนึ่งของการคอร์รัปชันคือ การต่อรองอามิสสินจ้างหรือขอส่วนแบ่งส่วนที่เกินในหลายรูปแบบ ความง่ายกลายเป็นยาก หรือความยากชาวบ้านขี้เกียจรำคาญกำขี่ดีกว่ากำตดเป็นเรื่องง่าย...z พูดถึงคณะกรรมการที่ผู้ว่าฯแต่งตั้ง ถือว่าร่วมฟันธงที่ดินแปลงไหนถูกหรือบุกรุกในเขตป่าสงวนแห่งชาติและที่ดินสาธารณะ เสนอรายงานต่อผู้ว่าฯมิใช่ว่าการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวอคติเมื่อติดเขตที่ดินของใคร เซ็นรับรองแนวเขตหรือติดเขตป่าฯ ติดประกาศ 30 วัน ใครค้านแย้งได้...z ที่เกิดขึ้นที่ดินเห็นแย้งป่าไม้ไม่มีปัญหา นายอำเภอและผู้ใหญ่บ้าน เห็นพ้อง แต่เป็นว่าการเสนอความเห็นส่วนตัวขัดต่อความเป็นจริง นี่ก็ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานเออ...เวรจงระงับด้วยการไม่จองเวร ชาวบ้านตาดำๆมีสิทธิ์ไหมครับ เอวังด้วยประการฉะนี้...z โฉนดบินเพราะโจรในเครื่องแบบร่วมมือกันโกงสมบัติชาติไม่อยากจะพูดมาก หรือไปสอนสังฆราชกฎกระทรวง .43” หากเกิดการขัดแย้ง ขอให้ผู้ตรวจกรม-กระทรวง-สำนักนายกรัฐมนตรีลงมาร่วมตรวจสอบ เชื่อว่า 1,400 แปลง ขุดหาความจริงได้...z ย้ายกลับมาใหญ่ นิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าฯภูเก็ตคนใหม่ (อดีตปลัดจังหวัด) คนภูเก็ต สับเปลี่ยนเก้าอี้กับ สมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย ย้ายไปเป็น รองผู้ว่าฯสุโขทัย ยินดีด้วย...z สนง. เขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต ถนัด ขวัญนิมิต ผู้อำนวยการ ย้ายไปเป็น ผอ.ฯเขต 2 พัทลุง ยกเก้าอี้ให้ ประไพ รัตนไพจิต ผอ.ฯร้อยเอ็ด คนเมืองคอนมานั่งแทน เพื่อรอเกษียณอายุ โชคดีเช่นกัน...z สนง.เหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต จัดฝึกอบรมผู้ประสานงานการจัดหาบริการโลหิต คน RH (เลือดลบ) ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน ศกนี้ 2 วัน ที่โรงแรมเพิร์ลและโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน.............

กาขาว

วันที่ : 15 มิ. 2553

ข้อมูล นสพ เสียงใต้

ภาพขนาดย่อของรายการ

กรณีที่ดินจังหวัดสุราษฎร์,พังงา,กระบี่,เลย เเนวทางปฎิบัติเเตกต่างจากจังหวัดภูเก็ต

การดำเนินการในการออกโฉนดที่ดิน กรณีเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินตามโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ หากกระบวนการในการรังวัดถูกต้อง ครบถ้วน ก็สามารถแจกโฉนดได้ภายในระยะเวลาของโครงการฯ แต่หากมีปัญหาในการดำเนินการของขั้นตอนการรังวัด เช่น การรับรองแนวเขตไม่ครบถ้วน ก็จะต้องส่งเรื่องราวให้สำนักงานที่ดินท้องที่ดำเนินการต่อ โดยต้องนัดรังวัดตรวจสอบใหม่ เพื่อแจ้งให้ข้างเคียงที่ดินที่ไม่ได้รับรองแนวเขตมาระวังชี้แนวเขต ถ้าหากการดำเนินการในส่วนต่าง ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ก็สามารถออกโฉนดได้โดยเร็ว

ตอบโดย สำนักงานที่ดินจังหวัดพังงา

ฝ่ายอํานวยการสํานักงานที่ดินจังหวัดกระบี่, พังงา เเละ กว จังหวัดเลย จังหวัด สุราษฎร์ ใช้ข้อเท็จจริง ต่างจากภูเก็ตยึดระยะตามสค1เป์นหลักไม่ใช้ข้อเท็จจริงที่เป็นปัจุบันผมเลยไม่เข้าใจเเต่ถ้าเป็นเเนวทางปฎิบัติเดียวกันประชาชนก็จะลดภาระไม่ต้องขึ้นศาลปกครองเพราะจะไม่มีความคิดว่าจังหวัดอื่นออกให้ครบเเต่จังหวัดเราถูกตัดระยะเลยตัองไปศาลปกครองเพราะที่ดินจังหวัดเเจ้งว่าเป็นคําสั่งทางปกครองให้ไปฟ้องศาลปกครองเลยคิดในใจนี่เราอยู่กับเพี่อนคนละรัฐเหมือนในอเมริการึเปล่าเพราะกฎหมายใชัคนละฉบับที่รู้มารัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยวเเบ่งเเยกไม่ได้



---------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------


ปปช



กรณ๊ที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตป่าหรือคาบเกี่ยวเขตป่าไม้ ในชั้นออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ..3. ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นไปตรวจสอบแล้วและคณะกรรมการมีความเห็นว่าควรออก ..3.ให้ผู้ขอได้แล้ว ต่อมาผู้ขอได้นำหลักฐาน ..3.ฉบับนั้นมาขอออกโฉนดที่ดิน จำเป็นจะต้องตั้งคณะกรรมการฯขึ้นไปทำการตรวจพิสูจน์อีกหรือไม่ อย่างไร


คณะกรรมการ ... พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของ นายสมนึก ไพบูลย์ เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็น เจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 157 จึงมีมติให้ส่ง รายงาน เอกสารและความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาและอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการทางวินัยและ ฟ้องผู้ถูกกล่าวหาเป็นคดีอาญาต่อศาล ต่อไป




ถ้ามาดูที่เเปลงนี้


กรณีกรณ๊ที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตป่าหรือคาบเกี่ยวเขตป่าไม้ ในชั้นออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นไปตรวจสอบแล้วและคณะกรรมการมีความเห็นว่าควรออก โฉนด.ให้ผู้ขอได้แล้ว ต่อมาที่ิดินจังหวัดภูเก็ตได้เสนอความเห็นโดยไม่ใช้มติของคณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่43 เสนอผู้ว่าซึ้งเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง 1 ใน5 ของคณะกรรมการมีที่ดินจังหวัดเป็นคณะกรรมการร่วมอยู่ด้วย ถ้าคณะกรรมการรับรองเเต่เจ้าที่ดินไม่รับรอง ดูเเล้วไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย เป็นความผิดทางวินัยเเละใข้อํานาจโดยมิชอบ







ในฐานะเป็นคนไทยขอเป็นกําลังใจให้นายกทวงคืนเเผ่นดินไทยกลับมาในเร็ววัน

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ติดต่อผู้ตรวจ

นายขจรศักดิ์  สิงโตกุล
08-9897-9275
เขตที่ 4  กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี  สุพรรณบุรี
เขตที่ 7 ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
นายณัฐพล  ธานีรัตน์
นายวรุตม์  ราชพิตร
08-2782-0604
08-1845-7576
0-2225-7281
50284-5
(33,34)







แนวทางและขั้นตอนการดําเนินการเรื่องราวรองทุกข์

 การดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องรองเรียน/รองทุกข ไดมีการกําหนดแนวทางและขั้นตอนใน 
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังตอไปนี้ 
1.การรับและลงทะเบียนหนังสือรองเรียน/รองทุกข 
   - กรณีรองเรียนเปนหนังสือที่สงมาจากหนวยงานภายนอกและภายในกระทรวงมหาดไทย รวมทั้ง 
ที่มารองเรียนดวยตนเอง 
2. การเสนอผูบังคับบัญชาสั่งการตรวจสอบ 
     2.1 ปลัดกระทรวงมหาดไทย/หัวหนาผูตรวจราชการ มท. สั่งการ  
         - หนวยงานรัฐวิสาหกิจ/สวนราชการ/จังหวัด ตรวจสอบขอเท็จจริงแลวรายงานผลใหทราบ 
         - มอบหมายใหผูตรวจราชการ มท. ไปตรวจสอบ/สอบสวนและสดับตรับฟงขอเท็จจริง 
ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแกไขปญหา แลวรายงานใหทราบ 
         - แตงตั้งคณะกรรมการประกอบดวยผูแทนสวนราชการหรือหนวยงานที่เกี่ยวของไปสอบสวน 
ขอเท็จจริง  ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแกไขปญหา  แลวรายงานผลใหทราบ 
    2.2 ผูตรวจราชการ มท. สั่งการ 
         - จังหวัด ตรวจสอบขอเท็จจริงกรณีเปนเรื่องรองเรียนขาราชการที่มีระดับต่ํากวารองผูวา 
ราชการจังหวัด (ตั้งแตปลัดจังหวัดลงมา) และเรื่องรองเรียนในแตละเขตตรวจราชการที่ ผต.มท.แต 
ละเขตรับผิดชอบ 
3. การติดตามผลการดําเนินการ 
    เมื่อมีการแจงใหหนวยงานรัฐวิสาหกิจ/สวนราชการ/จังหวัดตรวจสอบขอเท็จจริงแลว  หากพน 
กําหนดระยะเวลา แลวยังไมไดรับรายงานผลจะมีการแจงเตือนเปนระยะๆ ดังนี้ 
    - เตือนครั้งที่ 1 เมื่อครบกําหนด 30 วัน 
    - เตือนครั้งที่ 2 เมื่อครบกําหนด 15 วัน  นับตั้งแตไดรับการเตือนครั้งที่
    - เตือนครั้งที่ 3 เมื่อครบกําหนด   7 วัน  นับตั้งแตไดรับการเตือนครั้งที่
4 . การรายงานผล 
    - เมื่อหนวยงานรัฐวิสาหกิจ/สวนราชการ/จังหวัดตรวจสอบขอเท็จจริงและสรุปรายงานผลมายัง 
กระทรวงมหาดไทยแลว  ผต.มท. ดําเนินการสรุป วิเคราะหและรายงานผลการตรวจสอบขอเท็จจริง 
เพื่อนําเรียน ปมท./หน.ผต.มท. ทราบและพิจารณาสั่งการ หรือยุติเรื่อง  ถาเปนกรณีที่เปนเรื่อง 
รองเรียนตอรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย จะนําเรียน รมว.มท. เพื่อโปรดทราบ  สวนเรื่องยุติ 
แลวจะแจงใหหนวยงานที่สงเรื่องมาใหและแจงใหผูรองทราบตอไป   
5. ระบบ e_inspection 
    - กตร.สป. บันทึกรายละเอียดขอมูลและผลการดําเนินการเรื่องราวรองทุกขในแตละเขตตรวจ 
ราชการ ลงใน computer  ระบบ e_inspection ทาง intranet เพื่อเปนขอมูลในการตรวจสอบเกี่ยวกับ 
เรื่องราวรองทุกขของ ปมท. และผต.มท.ตอไป

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประธานวุฒิสภา (พลตรี มนูญกฤต รูปขจร) ได้มีหนังสือลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545

คณะกรรมการ ป.ป.ช.
ข่าวการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ข่าวที่ 4/2546 วันที่ 18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพ ฯ 10300
โทร. 0 2282 3161 - 5 โทรสาร. 0 2281 1145 http :// nccc.thaigov.net
             วันนี้ (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546) ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีนายโอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน ผลการประชุม มีเรื่องสำคัญที่ควรแถลงให้สื่อมวลชนทราบ คือ เรื่องที่ประธานวุฒิสภา (พลตรี มนูญกฤต รูปขจร) ได้ส่งคำร้องของ นายชวน หลีกภัย และคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ถอดถอนรัฐมนตรี จำนวน 9 คน ออกจากตำแหน่ง มาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 305 โดยในวันนี้ที่ประชุมได้พิจารณาไต่สวนกรณีถอดถอนตามคำร้องดังกล่าวแล้วเสร็จ ดังนี้
             กรณีคำร้องขอให้ถอดถอน นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี
             ประธานวุฒิสภา (พลตรี มนูญกฤต รูปขจร) ได้มีหนังสือลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 ส่งคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย นายชวน หลีกภัย และคณะ รวม 132 คน ซึ่งมี จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ถอดถอน นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง มาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ ไต่สวนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 305 โดยมีข้อกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์ส่อไปใน ทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย โดยให้กรมที่ดินทบทวนกลับคำวินิจฉัยเดิม และให้ออกโฉนดที่ดินให้กับตนเอง ทั้งที่ ที่ดินดังกล่าวไม่สามารถออกโฉนดได้
             การดำเนินการ
             1. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แจ้งให้นายชวน หลีกภัย แจ้งข้อเท็จจริงและส่งพยานหลักฐาน เพิ่มเติม
             2. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน และได้ รับมอบหมาย ได้มีหนังสือส่งเอกสารและแจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และต่อมานายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ได้มีหนังสือส่งรายชื่อราษฎร จำนวน 13 ราย ที่ขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกับนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาจากพนักงานเจ้าหน้าที่เหมือนกรณีนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
             3. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แจ้งให้นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ทราบถึงเรื่องที่ถูกร้องขอให้ ถอดถอน ซึ่งนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งเอกสารประกอบการ ชี้แจง
             4. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานจากส่วนราชการและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งสอบปากคำบุคคลทั้งสิ้น 29 คน ผลการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้
             เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2538 นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ได้มอบหมายให้ผู้รับมอบ อำนาจนำ น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งซื้อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2533 ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต และสำนักงานที่ดินจังหวัด ภูเก็ตได้ดำเนินการรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ผลการรังวัดและพิจารณาออกโฉนดที่ดิน ปรากฏว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 ได้แบ่งแยกมาจาก น.ส.3 ก. เลขที่ 1330 ซึ่ง น.ส.3 ก. เลขที่ 1330 ได้มีการนำเดินสำรวจเพื่อออก น.ส.3 ก. โดยใช้ระวาง รูปถ่ายทางอากาศ ตามนัยมาตรา 58 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2521 โดยที่ดินไม่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง แต่ยังไม่สามารถออก น.ส.3 ก. ให้ได้ เนื่องจากมีการรับรองแนวเขตไม่ถูกต้องครบถ้วน ต่อมาได้มี พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 หลังจากนั้นเมื่อได้มีการรับรองแนวเขตครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่ได้ออก น.ส.3 ก. เลขที่ 1330 ให้ไปเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 จึงเป็นปัญหาว่า เมื่อได้ มีการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการแจก น.ส.3 ก. ที่ได้นำเดินสำรวจ ไว้ก่อนแล้วได้หรือไม่ ซึ่งจังหวัดภูเก็ต เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ และนำหลักฐาน น.ส.3 ก. มาขอ ออกโฉนดที่ดินได้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติมาก่อน จังหวัดภูเก็ตจึงได้มี หนังสือลงวันที่ 20 มีนาคม 2541 หารือมายังกรมที่ดิน
             กรมที่ดิน ได้มีหนังสือลงวันที่ 22 ตุลาคม 2541 ลงนามโดยอธิบดีกรมที่ดิน แจ้ง จังหวัดภูเก็ต สรุปว่า เมื่อผู้นำเดินสำรวจได้ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากผู้ครอบครอง ทำประโยชน์มาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยมิได้แจ้งการครอบครอง แม้ต่อมาจะได้นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจ ก็มิได้หมายความว่าจะได้สิทธิในทันที การนำเดินสำรวจเป็นเพียงขั้นตอน หนึ่งในการออก น.ส.3 ก. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการลงนามและแจก น.ส.3 ก. ภายหลังจากที่ได้มี การประกาศให้บริเวณดังกล่าวเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว จึงเป็นการออก น.ส.3 ก. โดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย ให้จังหวัดดำเนินการเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าว โดยให้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการประสาน การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด (กบร.ส่วนจังหวัด) พิจารณาให้ความเห็นอีกครั้งหนึ่ง
             จังหวัดภูเก็ตได้มีหนังสือลงวันที่ 17 มิถุนายน 2542 ถึงกรมที่ดิน ว่าการครอบครอง น่าจะชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ตามมาตรา 1367 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับมาตรา 6 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 บัญญัติว่า "ที่ดินที่จะกำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาตินั้นต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใด" การออก น.ส.3 ก. น่าจะชอบด้วยกฎหมาย จึง ขอให้กรมที่ดินพิจารณาทบทวน
             กรมที่ดินได้มีหนังสือลงวันที่ 27 มกราคม 2543 ลงนามโดยอธิบดีกรมที่ดิน แจ้งยืนยัน ตามความเห็นเดิมไปยังจังหวัดภูเก็ต
             จังหวัดภูเก็ตได้นำเรื่องเสนอ กบร.ส่วนจังหวัดภูเก็ต พิจารณาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่ง กบร.ส่วนจังหวัดภูเก็ต เห็นว่าเรื่องดังกล่าวกรมที่ดินได้พิจารณาเป็นที่ยุติแล้ว ประกอบกับ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กบร. ส่วนจังหวัด จะพิจารณา จึงไม่รับพิจารณา และให้สำนักงานที่ดิน จังหวัดดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
             วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี โดย นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
             ต่อมาจังหวัดภูเก็ตได้มีหนังสือลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 ถึงกรมที่ดิน แจ้งมติของ กบร.ส่วนจังหวัดภูเก็ต และแจ้งความเห็นว่าเจ้าของที่ดินได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนก่อนประกาศ เป็นเขตอุทยาน จึงตกเป็นสิทธิครอบครองโดยชอบตามมาตรา 1367 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ จึงเชื่อว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 ได้ออกโดยชอบแล้ว และเนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ มีนโยบายที่จะให้ส่วนราชการทบทวนแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และความเป็นจริง จึงส่งเรื่องทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
             กรมที่ดินได้มีหนังสือลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ลงนามโดยรองอธิบดีกรมที่ดินแจ้งจังหวัดภูเก็ตโดยสรุปว่า เจ้าของที่ดินได้นำเดินสำรวจออก น.ส.3 ก. ไว้ก่อนจะมีการประกาศเป็นเขต อุทยานแห่งชาติ ซึ่งขณะนำเดินสำรวจ ที่ดินสามารถออกเอกสารสิทธิได้ ไม่เป็นที่หวงห้าม เมื่อได้นำเดิน สำรวจแล้วย่อมถือได้ว่ายังประสงค์จะได้สิทธิ เมื่อมีเหตุขัดข้องไม่สามารถแจก น.ส.3 ก. ได้ โดยพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการตามขั้นตอนในขณะนั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของเจ้าของที่ดิน ต่อมา เมื่อได้ดำเนินการครบถ้วนและแจก น.ส.3 ก. ให้แก่ผู้นำเดินสำรวจแล้ว แม้จะเป็นเวลาภายหลังจากที่ได้ ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว ก็ไม่กระทบกระเทือนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด
             โดยผลของหนังสือกรมที่ดินข้างต้นพนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ 10023 เนื้อที่ 8 - 3 - 44.1/10 ไร่ ให้กับ นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 ซึ่งต่อมา ผู้ถูกกล่าวหาได้นำโฉนดที่ดินที่ได้รับฉบับนี้ ไปจดทะเบียนเพื่อค้ำประกันเงินกู้ จำนวน 69 ล้านบาท กับบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
             คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีข้อสังเกตในเบื้องต้น ดังนี้
             (1). เหตุใด จังหวัดภูเก็ตจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 ขอให้กรมที่ดิน ทบทวนความเห็นเป็นครั้งที่ 3 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ กรมที่ดินได้ยืนยันความเห็นถึง 2 ครั้งแล้วว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 เป็น น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ดำเนินการเพิกถอน
             จากการไต่สวนโดยสอบปากคำ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นการเสนอ ความเห็นเพิ่มเติม ประกอบกับในขณะนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดินยกเลิกอำนาจของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินไปเป็นของอธิบดีกรมที่ดิน และผู้เกี่ยวข้องทุกคน ยืนยันว่าได้เสนอความเห็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยปกติ ไม่ได้รับการสั่งการจากนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ แต่อย่างใด
             (2). เหตุใด กรมที่ดินจึงได้ทบทวนความเห็นตามหนังสือลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 โดยกลับความเห็นเดิมว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 ออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
             จากการไต่สวนปากคำ อธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกคนต่างยืนยันว่า ได้พิจารณาทำความเห็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตนโดยปกติ ไม่ได้รับการสั่งการ จากนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ แต่อย่างใด เช่นกัน
             (3). น.ส.3 ก. เลขที่ 1330 ซึ่งต่อมาได้แบ่งแยกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 เป็น น.ส.3 ก. ที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
             ประเด็นนี้ ตามแนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และแนวทางปฏิบัติของ กรมที่ดิน นั้น ที่ดินที่มีการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (พ.ศ.2497) ไม่ว่าจะก่อนวันที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 ใช้บังคับหรือไม่ หากไม่ได้แจ้งการครอบครอง หรือได้รับการผ่อนผันการแจ้งการครอบครองจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 แล้ว ต่อมาที่ดินนั้นถูกกำหนด เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือมีมติคณะรัฐมนตรี ให้สงวนไว้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติไปก่อนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้
             แต่กรณีนี้ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาออกโฉนดที่ดินให้นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ กลับเห็นว่า ได้มีการนำเดินสำรวจเพื่อออก น.ส.3 ก. ไปก่อนที่จะมีการประกาศเป็น เขตอุทยานแห่งชาติ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วนในขณะนั้น ไม่ได้เป็นความ ผิดของเจ้าของผู้นำเดินสำรวจ เมื่อได้ดำเนินการครบถ้วนและแจก น.ส.3 ก. ไป แม้จะเป็นเวลาภายหลัง จากประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว ก็ไม่กระทบกระเทือนสิทธิครอบครองในที่ดินที่มีอยู่ก่อนแล้ว น.ส.3 ก. ดังกล่าวจึงออกไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นความเห็นใหม่ ที่ไม่มีกรณีตัวอย่างมาก่อน
             สำหรับราษฎรจำนวน 13 รายที่นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ อ้างว่าได้ขอออกเอกสารสิทธิที่ดิน ในบริเวณอุทยานแห่งชาติสิรินาถ เช่นเดียวกับ นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ แต่ไม่ได้รับการพิจารณา จากพนักงานเจ้าหน้าที่ นั้น จากการไต่สวนปรากฏว่าราษฎรตามรายชื่อดังกล่าวไม่ได้ยื่นคำขอออก เอกสารสิทธิที่ดินจากสำนักงานที่ดินแต่อย่างใด
             คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนทั้งหมด แล้ว เห็นว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2538 นายอุดล ลีนานนท์ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกกล่าวหา ได้นำ น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาได้ซื้อไว้ ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต แต่ ปรากฏว่าสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินได้ เนื่องจาก น.ส.3 ก. ที่ขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ได้มีการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติก่อนแล้ว โดยกรมที่ดิน ได้มีหนังสือแจ้งให้จังหวัดภูเก็ตทราบว่า กรณีการออก น.ส.3 ก. ที่ผู้ถูกกล่าวหาได้ซื้อมานั้นไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และให้จังหวัดภูเก็ตดำเนินการเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าว เมื่อนายอุดล ลีนานนท์ ทราบว่าการออกโฉนดที่ดินมีปัญหาไม่สามารถออกโฉนดได้และจะต้องถูกเพิกถอน จึงได้เดินทางมา พบกับผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบดูแล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ถูกกล่าวหาได้ให้นายอุดล ลีนานนท์ ไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงาน ที่ดินจังหวัดภูเก็ต ระงับการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ก่อน และนายอุดล ลีนานนท์ ได้ดำเนินการ ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาสั่งการ การออกโฉนดที่ดินจึงได้มีการระงับไป ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ก่อนที่จะได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ผู้ถูกกล่าวหา ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เพียงหนึ่งวัน จังหวัดภูเก็ตได้นำเรื่องขอออกโฉนดที่ดินของผู้ถูกกล่าวหา เข้าสู่การพิจารณาของ กบร.จังหวัดภูเก็ต และที่ประชุมได้มีมติไม่รับไว้พิจารณา เนื่องจากกรมที่ดินได้พิจารณาเรื่องนี้เป็นที่ยุติแล้ว และให้ สำนักงานที่ดินจังหวัดดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป จังหวัดภูเก็ต จึงได้มีหนังสือลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 ถึงกรมที่ดิน แจ้งความเห็นว่า เจ้าของที่ดินได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนก่อน ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ จึงตกเป็นสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบแล้ว ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 จึงเชื่อว่า น.ส.3 ก. ของผู้ถูกกล่าวหาได้ออกโดยชอบแล้ว และได้ส่ง เรื่องให้กรมที่ดินพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ กรมที่ดิน โดยรองอธิบดีกรมที่ดิน ปฏิบัติราชการ แทนอธิบดีกรมที่ดิน ได้มีหนังสือแจ้งจังหวัดภูเก็ต กลับความเห็นเดิมของกรมที่ดิน โดยแจ้งว่า แม้จะ ได้มีการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว ก็ไม่กระทบกระเทือนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว แต่อย่างใด หลังจากนั้น สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตจึงได้ออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 10023 ให้กับ ผู้ถูกกล่าวหา
             จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงเป็นเหตุให้พิจารณาได้ว่า เหตุที่ได้มีการ ออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 10023 ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา ก็โดยสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกกล่าวหา ได้รับ พระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เนื่องจากมีพฤติการณ์ของ เจ้าหน้าที่กรมที่ดินที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ส่อไปในทางเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา ในกรณี ดังต่อไปนี้
             1. ผู้ถูกกล่าวหา โดยนายอุดล ลีนานนท์ ได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงาน ที่ดินจังหวัดภูเก็ตในครั้งแรกแล้ว แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินได้ เนื่องจาก กรมที่ดิน ในขณะนั้นพิจารณาแล้วเห็นว่า น.ส.3 ก. ที่นำมาขอออกโฉนดเป็น น.ส.3 ก. ที่ออก โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหลังจากที่ผู้ถูกกล่าวหา ได้รับทราบจากนายอุดล ลีนานนท์ ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ ผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งให้ นายอุดล ลีนานนท์ แจ้งสำนักงานที่ดิน จังหวัดภูเก็ตให้ระงับเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินไว้ก่อน แต่ต่อมาก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหา จะได้รับพระบรม- ราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งวัน จังหวัดภูเก็ตกลับหยิบยกเรื่อง การขอออกโฉนดที่ดินของผู้ถูกกล่าวหามาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และได้มีการเสนอให้กรมที่ดินพิจารณา ทบทวน ซึ่งในครั้งนี้ กรมที่ดินได้พิจารณากลับความเห็นเดิมที่มีมาแต่แรก และยืนยันมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยมีความเห็นว่า แม้จะได้มีการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว ก็ไม่กระทบกระเทือนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นเหตุให้สำนักงานที่ดินจังหวัด ภูเก็ต ออกโฉนดที่ดินที่เป็นปัญหาให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา ในที่สุด
             2. ในการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินของผู้ถูกกล่าวหาตามที่กล่าวแล้ว ใน 1. ปรากฏว่า นักวิชาการที่ดิน 8 ว รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการออกหนังสือ สำคัญ ลำดับที่ 2 รองจากผู้อำนวยการกองการพิมพ์ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน การออกหนังสือสำคัญ ลำดับที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบและเสนอความเห็นในเรื่องการพิจารณาทบทวน เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ซึ่งจากการไต่สวนข้อเท็จจริงในส่วนนี้ ปรากฏว่ารักษาราชการ- แทน ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ ลำดับที่ 1 ได้เคยพิจารณาเรื่องนี้และ มีความเห็นมาโดยตลอดว่า การออก น.ส.3 ก. ที่ผู้ถูกกล่าวหานำมาขอออกโฉนด เป็นการออก น.ส.3 ก. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถดำเนินการออกเป็นโฉนดที่ดินได้ และเห็นควรให้ จังหวัดภูเก็ต ดำเนินการเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าว ซึ่ง รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนัก มาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ ลำดับที่ 2 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน 7 ก็เคย เป็นผู้พิจารณาเรื่องตามลำดับชั้น โดยเห็นด้วยกับความเห็นที่เจ้าหน้าที่ได้พิจารณาเสนอตอบข้อหารือ ว่า กรณีดังกล่าวต้องห้ามมิให้ออกหนังสือสำคัญรับรองการทำประโยชน์ถึงสองครั้ง แต่ในครั้งนี้กลับมี ความเห็นในลักษณะที่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินได้
             3. หนังสือกรมที่ดิน ซึ่งตอบข้อหารือของจังหวัดภูเก็ต ฉบับลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ปรากฏว่า สำเนาหนังสือที่เก็บรักษาไว้ที่สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ มีข้อความไม่ตรงกับ ต้นฉบับหนังสือที่ส่งไปให้จังหวัดภูเก็ต โดยปรากฏว่า มีการแก้ไขข้อความที่เป็นสาระสำคัญจากความ เดิมที่ว่า "ก็ไม่น่าจะกระทบกระเทือนสิทธิครอบครองในที่ดินของบุคคล................" เป็น "ก็ไม่ กระทบกระเทือนสิทธิครอบครองในที่ดินของบุคคล.........." ซึ่งในกรณีนี้ รองอธิบดีกรมที่ดิน ผู้ลงนาม ในหนังสือ ได้ให้การยอมรับว่า เป็นผู้แก้ไขข้อความในหนังสือดังกล่าว
             4. หลังจากที่สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ได้ออกโฉนดที่ดินให้กับผู้ถูกกล่าวหา เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2544 ก็ปรากฏว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้จำนองที่ดินแปลงนี้กับโฉนดที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ของผู้ถูกกล่าวหา เนื้อที่ 36 ไร่ เป็นประกันเงินกู้กับบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) รวม จำนวน 69 ล้านบาท ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ภายหลังจากที่ได้มีการออกโฉนดที่ดิน เพียง 6 เดือน
             ด้วยพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องข้างต้น ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็น การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ตามครรลองของข้าราชการที่จะพึงกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของทางราชการ หากแต่การไต่สวนข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏถ้อยคำของ พยานบุคคล หรือพยานหลักฐานอื่นใดที่จะฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหา ได้ใช้อำนาจหน้าที่สั่งการไม่ว่า จะโดยตรงหรือโดยอ้อมให้กรมที่ดินทบทวนและกลับคำวินิจฉัยเดิม เพื่อให้มีการออกโฉนดที่ดินให้ กับผู้ถูกกล่าวหา
             คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป สำหรับ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ซึ่งจากการไต่สวนข้อเท็จจริงพบว่า ได้พิจารณาทบทวนความเห็นตามหนังสือลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 โดยกลับความเห็นเดิมว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 1448 และ 1449 ของนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้สำนักงาน ป.ป.ช. แยกเรื่องเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

ลองหันมามองเจตนาของ ป.ที่ดินม.5


    ต้องหันมามองเจตนาของ ป.ที่ดิน...ม.5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้...เพียงแต่ให้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์(ต้องทำประโยชน์ด้วย) แจ้ง ส.ค.๑...แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใหม่แก่ผู้แจ้ง..สิทธิมีมาอย่างไรให้เป็นไปตามนั้น   ส่วนการออกโฉนดให้ชาวบ้านได้เท่าไหร่นั้น..เป็นเรื่องของเจตนารัฐ ที่ต้องการจัดที่ดินให้อย่างเป็นธรรม  อย่างสมัยก่อนเคยกำหนดสิทธิที่จะได้..โดยกำหนดจากเนื้อที่เป็นหลักตามศักดินา ไม่เกิน50ไร่ ไม่เกิน100ไร่อย่างนี้เป็นต้น...ทุกอย่างล้วนแล้วแต่รัฐเป็นผู้กำหนดเอง....
          สมัยนี้รัฐกำหนดให้  ม.58  รัฐสมควรให้เอกสารสิทธิก็จะประกาศดำเนินการไป  อีกส่วน ม.59 ให้ผู้ มีสิทธิครอบครอง เป็นผู้มาขอออกเอกสารสิทธิเอง  ส่วน ม.59 ทวิ ให้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ก่อน ป.ที่ดิน คำพูดในเนื้อหาของกฎหมายในแต่ละมาตราจะไม่เหมือนกัน แต่นั้นก็เป็นเจตนาของรัฐที่ต้องการจัดที่ดินให้กับราษฎรทั้งสิ้น  เพื่อไม่ให้เกิดความวุ้นวายในการจัด กฎหมายกำหนด ให้มีคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งฯ  ว่าไปตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด โดยออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้เท่าที่  ครอบครองและทำประโยชน์.....เราจึงต้องมีพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์ว่าปัจจุบันมีการครอบครองและทำประโยชน์เท่าไหร่....ก็ออกเอกสารสิทธิในที่ดินไปตามนั้น
        แต่เผอิญเกิดปัญหา....การมีสิทธิครองครอง ที่เกิดจากการแจ้ง ส.ค.๑ มีบางด้านจดป่า หรือจดรกร้างว่างเปล่า...มันจะเกิดสิทธิครองครองตั้งแต่แรกแค่ใหน...หาข้อยุติยาก...คณะกรรมการฯจึงกำหนดให้ด้านทีติดด้านนั้นให้ใช้ระยะเป็นหลักในการออก....เป็นเพียงใช้เพื่อ  ในการแก้ปัญหาในการบุกรุกที่ดินของรัฐเพิ่มเติม....แต่ถ้าหากไม่มีเขตติดต่อกับที่ดินของรัฐก็ยังมีมาตราอื่นให้โอกาสยื่นขอออกได้อีก....ทำให้เห็นได้ว่า  ถ้าไม่ใช่ที่ดินของรัฐ...รัฐยังมีเจตนาจะออกเอกสารสิทธิให้กับราษฎร...

       นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้เรายิ่งสับสนกันไปใหญ่...อธิบดีสมัยหนึ่ง...ได้รับการอธิบายจากช่างเกี่ยวกับงานแผนที่  เพราะสาเหตุเนื่องจากมีระยะเข้ามาเกี่ยวข้อง  อธิบายในฐานะช่างแผนที่  ต้องบังคับระยะ3ด้านเพื่อไม่ให้แผนที่โปร่งพองออกด้านข้าง  ไม่ได้คำนึงถึงหลักกฎหมายว่าจะก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่ผู้แจ้งอย่างใด   อธิบดีจึงสั่งใช้ระยะ3ด้านบังคับ  หนังสือเวียนยังไม่ได้ถูกยกเลิกแต่กลับกลายมาเป็นเงื่อนไข ช่องทางของเจ้าหน้าที่ ..........ที่พูดไปนี่ก็เพื่อที่จะให้ทุกท่านหันมามองเจตนาของกฏหมาย......ผมเขียนไปก็ยาวไปเลื่อย...ขอหยุดน่ะครับ
                    

ผู้ว่าฯ ภูเก็ตลงพื้นที่ตรวจสอบการร้องเรียนชาวบ้านกลุ่มนายทุน


วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ผู้ว่าฯภูเก็ต สอบนายทุนรุกที่

บุกรุกที่สาธารณะบ้านเมืองใหม่


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 ต.ค. 52 นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ที่ดินอำเภอถลาง และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาตรวจสอบพื้นที่การบุกรุกที่สาธารณะของกลุ่มนายทุนและชาวบ้านที่บ้านเมืองใหม่ ม. 5 ต. เทพกระษัตรี อ. ถลาง จ. ภูเก็ต ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีเนื้อที่กว่า 30 ไร่เศษ ได้มีชาวบ้านมาปลูกสร้างอาคารแล้วกว่า 10 หลัง โดยระหว่างการตรวจสอลได้มีกลุ่มชาวบ้านนำโดยนายเชิดชัย วงศ์เสรี นายณรงค์ฤทธิ์ รอดคำ เข้ามาชี้แจงกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตว่ามีหลักฐานเป็นเอกสารโฉนดที่ดิน

นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่าที่ดินแปลงดังกล่าวมีโฉนด ตราจอง การที่เจ้าหน้าที่มาจับกุมถือว่า ดำเนินการไม่ถูกต้อง ไม่มีเอกสารอะไรมาชี้แจงว่ามีการบุกรุก แต่กรณีนายทุนมีโฉนดที่ดิน นส.3 ก จำนวน 11 ไร่ มีการบุกรุกเพิ่มเป็น 25 ไร่ ทำไมไม่จับกุม ที่สำคัญมีการปิดถนนหนทางเข้าออกที่ชาวบ้านใช้ทำมาหากินในหมู่บ้านด้วย

ด้านนายอดุลย์ ชูทอง ปลัดอำเภอถลาง กล่าวว่า ในการตรวจสอบที่ดินแปลงดังกล่าว จากสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตส่วนแยกอำเภอถลาง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ป่าไม้พบว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินตาม พ.ร.บ. กฎหมายป่าไม้ 2484 ไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่มีโฉนดที่ชัดเจน ชี้แนวเขตไม่ได้ การที่ชาวบ้านอ้างว่ามีเอกสารสิทธิเพื่อประวิงเวลาเท่านั้น

ด้านนายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้มีการสั่งการให้ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชลอการจับกุมไปก่อน และให้เข้าไปตรวจสอบหลักแนวเขตโฉนดที่ดินใหม่ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย 



ที่มา พลังชน

----------------------------------------------------------------------

อธิบดีกรมที่ดินเร่งรัดวัดที่ดิน ส.ค.1


  News
  หัวข้อข่าว  อธิบดีกรมที่ดินเร่งรัดวัดที่ดิน ส.ค.1
  อ่านแล้ว : 


อธิบดีกรมที่ดินเร่งรัดการรังวัดที่ดิน ส.ค.1 เพื่อออกเอกสารสิทธิให้เสร็จภายใน 1 ปี พร้อมตั้งกรรมการสอบสวนการออกเอกสารสิทธิที่ดินพื้นที่ อ.สุขสำราญ จ.ระนอง

         วันนี้(4 พ.ค.53) ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดระนอง นายอนุวัฒน์  เมธีวิบูลวุฒิ อธิบดีกรมที่ดินได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการสำนักงานที่ดินจังหวัดระนอง  
          อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า การเดินทางมาจังหวัดระนองเป็นไปตามโครงการตรวจเยี่ยมสำนักงานที่ดินจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินทุกแห่งต้องปรับปรุงด้านสถานที่รองรับการให้บริการแก่ประชาชน  การปรับปรุงตัวเจ้าหน้าที่เองทั้งด้านการแต่งกาย การใช้วาจา การแสดงความเอื้ออารีความพร้อมให้บริการ และติดตามเร่งรัดเรื่องงานค้าง ทั้งงานออกโฉนด งานจดทะเบียน งานร้องเรียนร้องทุกข์ งานออกเอกสารสิทธิ์ หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงต่าง ๆ ซึ่งต้องเร่งรัดให้เสร็จ โดยกรมที่ดินพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงอาคารสำนักงาน
        อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า สำหรับการนำเอกสาร ส.ค. 1 มาออกเป็นโฉนด น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. นั้นในส่วนของจังหวัดระนองมีประมาณ 1,000 แปลง ซึ่งดูแล้วมีคิวรังวัดนานมากจึงได้ให้ฝ่ายรังวัดไปจำแนก ส.ค.1 แล้วใช้เครื่อง GPS มาตรวจสอบว่าที่ดินอยู่บริเวณใด หากที่ดินแปลงใดอยู่ในเขตที่ดินสาธารณะ ที่ดินหวงห้ามให้กันออกไปก่อน ถึงแม้รังวัดแล้วก็ออกเอกสารสิทธิ์ให้ไม่ได้ เสียค่าใช้จ่ายเปล่า ส่วนที่ดินที่มีความลาดชันเกิน 35 องศา ก็เป็นนโยบายที่ออกให้ไม่ได้เช่นกัน ซึ่งจะเหลือที่ดิน ส.ค.1 ที่นำมาออกเอกสารได้ประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องเร่งรัดดำเนินการรังวัดเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยกรมที่ดินจะส่งช่างรังวัดจากส่วนกลางมาให้ 3 คน ประจำสำนักงานที่ดินจังหวัดระนอง 2 คน และ ประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสุขสำราญ 1 คน           
       อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวด้วยว่า สำหรับจังหวัดระนองมีที่ดินที่มีปัญหามากโดยเฉพาะในเขตอำเภอสุขสำราญได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมา 1 ชุด เพื่อสอบสวนเพิกถอนเอกสารสิทธิที่มีปัญหาประมาณ 30 แปลง ส่วนอำเภออื่น ๆ ก็มีเช่นกันซึ่งจะค่อย ๆ ทำไปเอาเฉพาะที่ร้อนแรงก่อน..//////

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ ๑

รายงานการประชุม
คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย  คณะที่ ๑
ครั้งที่ ๓๑/๒๕๕๒
วันจันทร์ที่  ๒๗  กรกฎาคม  ๒๕๕๒
ณ  ห้องประชุมสำนักกฎหมาย สป. ชั้น ๖  อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ  กระทรวงมหาดไทย
ผู้มาประชุม.
๑. นายชำนาญ พจนา กรรมการ   ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม
๒. นายกฤดิธาดา จารุสกุล กรรมการ  
แทนที่ปรึกษาด้านกฎหมายกระทรวงมหาดไทย
๓. นายจินต์ วิภาตะกลัศ กรรมการ
๔. ศ.พิเศษ ยุวัฒน์  วุฒิเมธี กรรมการ
๕. นายสุพล ยุติธาดา กรรมการ
๖. รศ.กมลชัย  รัตนสกาววงศ์ กรรมการ
๗. นายนิกร เวชภูติ กรรมการ
๘. นางสาววัณณนา บุนนาค กรรมการ
๙. นายเอกศักดิ์ ตรีกรุณาสวัสดิ์ กรรมการ
๑๐. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ กรรมการ
๑๑. นายอัครเดช เจิมศิริ กรรมการ
.๑๒. นายพิพัฒน์ เนี้ยวคงศักดิ์ กรรมการ
แทนผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สป.
๑๓. นางสาวสุดารัตน์ ไม่ซบเซา กรรมการและเลขานุการ
นิติกรชำนาญการพิเศษ  สำนักกฎหมาย สป.
ผู้ไม่มาประชุม
๑. นายต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ ติดราชการ
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายบริหาร
๒. นายสวัสดิ์  ส่งสัมพันธ์ ลาการประชุม
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นายยงยุทธ ชื้นประเสริฐ นิติกรชำนาญการ  สำนักกฎหมาย สป.
๒. นายสมาวิษฎ์ สุพรรณไพ นิติกรชำนาญการ   สำนักกฎหมาย สป.




ผู้แทนกรมที่ดิน
๑. นายถวัลย์ ทิมาสาร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการออกหนังสือสำคัญ
๒. นายประภัสสร สืบเหล่ารบ นิติกรชำนาญการพิเศษ
๓. นางฉัตราพร พึ่งบุญ ณ อยุธยา นิติกรชำนาญการ
๔. นายณัฐพัชร กล่ำทอง นิติกรชำนาญการ
๕. นางสาวศุภศิริ เวศาขวรินธ์ นิติกรชำนาญการ







- ร่าง –
กฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... )
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. ๒๔๙๗

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติ
ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และมาตรา ๕๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมาย
ที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑/๑ ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ 
“ข้อ ๑/๑ ในกฎกระทรวงนี้
“เขตป่า” หมายความว่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า             เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเขตที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี




“ระวาง” หมายความว่า ระวางรูปถ่ายทางอากาศ ระวางแผนที่ และระวางแผนที่
รูปถ่ายทางอากาศ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๖ แห่งของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)              ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ก่อนออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ทราบมีกำหนดสามสิบวัน ประกาศนั้นให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาลหรือศาลาว่าการเมืองพัทยาหรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ แห่งละหนึ่งฉบับ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ เมื่อได้พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แล้ว ปรากฏว่าได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิ่น ตลอดจนสภาพของกิจการที่ได้ทำประโยชน์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังนี้
(๑) ประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ทราบมีกำหนดสามสิบวันประกาศนั้นให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอสำนักงานเทศบาลหรือศาลาว่าการเมืองพัทยาหรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ แห่งละหนึ่งฉบับ
(๒) ถ้าปรากฏว่าที่ดินนั้นไม่อยู่ในเขตป่าและที่ดินนั้นไม่เป็นที่ดินซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามข้อ ๕ และไม่มีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาที่ประกาศตาม (๑)
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้
(๓) ถ้าปรากฏว่าที่ดินนั้นตั้งอยู่ในระวางที่มีเขตป่าและกรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมพัฒนาที่ดินยังไม่ขีดเขตป่าลงในระวางให้เจ้าพนักงานที่ดิน
มีหนังสือสอบถามหน่วยงานดังกล่าวว่าที่ดินนั้นมีอาณาเขตคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตป่าหรือไม่ ถ้าไม่มีอาณาเขตคาบเกี่ยวหรือไม่อยู่ในเขตป่าให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้
ถ้าได้รับแจ้งจากหน่วยงานดังกล่าวว่าที่ดินนั้นมีอาณาเขตคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตป่าหรือกรณีที่ขีดเขตแล้ว แต่ที่ดินที่ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีอาณาเขตคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตป่า ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยนายอำเภอท้องที่หรือผู้แทน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือผู้แทน ผู้แทนกรมป่าไม้ และหรือผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรรมการอื่นตามที่เห็นสมควร สำหรับที่ดินที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้ขีดเขตหรือ                ขีดเขตแล้ว   แต่ที่ดินดังกล่าวมีอาณาเขตคาบเกี่ยวหรืออยู่ใน เขตที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ให้แต่งตั้งผู้แทนกรมพัฒนาที่ดินเป็นกรรมการด้วยเพื่อร่วมกันออกไปตรวจพิสูจน์ที่ดิน เมื่อ 





คณะกรรมการดังกล่าวได้ทำการตรวจพิสูจน์เสร็จแล้วปรากฏว่าที่ดินไม่อยู่ในเขตป่าให้คณะกรรมการแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบเพื่อดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ตามความในวรรคสองปรากฏว่าที่ดินนั้นอยู่ในเขตป่าให้เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาว่าสมควรออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่ เพียงใด
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาผลการตรวจพิสูจน์ที่ดินของคณะกรรมการตามข้อ ๑๐ (๓) แล้ว ปรากฏว่าที่ดินนั้นอยู่ในเขตป่าแต่ผู้ขอได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายมา
ก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้ที่ดินนั้นเป็นเขตป่าและไม่มีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาที่ประกาศตามข้อ ๑๐ (๑) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการว่าสมควรออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่ เพียงใดและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการ
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๑๕ แห่งของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓)  ก่อนแจกโฉนดที่ดิน ให้เจ้าพนักงานที่ดินประกาศการออกโฉนดที่ดินให้ทราบ
มีกำหนดสามสิบวัน ประกาศนั้นให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาลหรือศาลาว่าการเมืองพัทยาหรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ แห่งละหนึ่งฉบับ”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ แห่งของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ.๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๗ ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีโฉนดที่ดินเป็นอันตรายหรือสูญหาย ให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอและปฏิญาณตนต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการสอบสวนเจ้าของที่ดินจนเป็นที่เชื่อถือได้ และให้เจ้าพนักงานที่ดินประกาศให้ทราบมีกำหนดสามสิบวัน ประกาศนั้นให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย  ณ  สำนักงานที่ดิน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาลหรือศาลาว่าการเมืองพัทยาหรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ แห่งละหนึ่งฉบับ ถ้ามีผู้คัดค้านภายในเวลาที่กำหนดและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนแล้วสั่งการไปตามควรแก่กรณี ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ให้ออกใบแทนให้ไปตามคำขอ
(๒) ในกรณีโฉนดที่ดินชำรุด ถ้าเจ้าของที่ดินนำโฉนดที่ดินที่ชำรุดนั้นมามอบและโฉนดที่ดินที่ชำรุดนั้นยังมีตำแหน่งที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน ชื่อและตราประจำตำแหน่งของผู้ว่าราชการจังหวัด และหรือชื่อและตราประจำตำแหน่งของเจ้าพนักงานที่ดินตามแบบโฉนดที่ดินปรากฏอยู่ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ให้ออกใบแทนให้ไปได้ ถ้าขาดข้อความสำคัญดังกล่าวให้นำความใน (๑) มาใช้บังคับ

๑๐

(๓) ในกรณีศาลมีคำสั่งหรือมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือผู้ใดมีสิทธิ      จดทะเบียนตามคำพิพากษาของศาล แต่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาหรือโฉนดที่ดินเดิมเป็นอันตรายชำรุดหรือสูญหายด้วยประการใดให้ผู้มีสิทธิจดทะเบียนยื่นคำขอใบแทนแล้วดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน (๑) หรือ (๒) 
แล้วแต่กรณี 
(๔) ในกรณีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๘๒ แต่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาหรือโฉนดที่ดินเดิมเป็นอันตรายชำรุดหรือ          สูญหายด้วยประการใดให้ผู้มีสิทธิจดทะเบียนยื่นคำขอใบแทนและให้ออกใบแทนให้ไปได้ โดยไม่ต้องสอบสวนและไม่ต้องประกาศ 
(๕) ในกรณีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการยึดและขายทอดตลาดที่ดินขอให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจได้ยึดมาขายทอดตลาดแล้ว แต่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาหรือ โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันตราย ชำรุดหรือสูญหายด้วยประการใด ให้ถือหนังสือของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นแทนคำขอและให้ออกใบแทนให้ไปได้ โดยไม่ต้องสอบสวนและไม่ต้องประกาศ
(๖) ในกรณีอธิบดีจะใช้อำนาจจำหน่ายที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาหรือโฉนดที่ดินเดิมเป็นอันตราย ชำรุด หรือสูญหายด้วยประการใดให้ดำเนินการออกใบแทน โดยไม่ต้องสอบสวนและไม่ต้องประกาศ
(๗) ในกรณีที่ต้องมีการดำเนินการเพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดิน หรือรายการ
จดทะเบียนตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาหรือโฉนดที่ดินเดิม
เป็นอันตราย ชำรุดหรือสูญหายด้วยประการใด ให้ดำเนินการออกใบแทน โดยไม่ต้องสอบสวนและไม่ต้องประกาศ
ในกรณีที่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาตาม (๓) (๕) (๖) และ (๗) ให้ถือว่าโฉนดที่ดินสูญหาย”

ให้ไว้   ณ  วันที่                         พ.ศ. ....



      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


มติที่ประชุม ให้กรมที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายฯ แล้วจึงดำเนินการเสนอต่อไปได้




๑๑

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องอื่น ๆ
ไม่มี

เลิกประชุมเวลา ๑๑.๐๐ น.
(นางสาวสุดารัตน์ ไม่ซบเซา) (นายพิพัฒน์ เนี้ยวคงศักดิ์)
  กรรมการและเลขานุการ                                                     กรรมการ
  ผู้จัดรายงานการประชุม             ผู้ตรวจรายงานการประชุม





วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการระวังชี้แนวเขตที่ดิน พ.ศ. 2538

ขนส่งทางน้ำรับผิดชอบเฉพาะน้ำท่วมถึง....อยากถามผู้รู้ว่า
(แนวทางปฏิบัติของช่าง  ที่ต้องดำเนินการ)
        1.หลักฐานเดิมจดแจ้งคลอง....แม่น้ำ... และในระวางและหลักฐานไกล้เคียงก็ปรากฏเป็นคลอง...หรือแม่น้ำ... สำนักงานที่ดินแจ้งหมายไปแล้ว แต่สภาพข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่จดคลองหรือแม่น้ำ และพ้นจากที่ชายตลิ่งมามากพอสมควร และวันทำการรังวัดขนส่งทางน้ำ มาระวังชี้แนวเขต กรณีนี้ต้องดำเนินการอย่างไร

        2.ถ้าเกิดวันทำการรังวัดขนส่งทางน้ำ  มาระวังชี้แนวเขตแล้ว และขอสงวนสิทธิ คลองหรือแม่น้ำดังกล่าวอยู่ แนวทางปฏิบัติจะทำอย่างไร

       3.ถ้าที่ดินพ้นจากชายตลิ่งแล้ว ตามสภาพข้อเท็จจริง ก็ต้องให้ผู้ปกครองท้องที่รับรองเขตร่วมกับ อป. ตาม ..
ลักษณปกครองท้องที่ฉบับ 11(2551)  เกิดวันทำการรังวัด ขนส่งทางน้ำ ไม่มา  สำนักงานที่ดิน ต้องมีหนังสือแจ้งให้ขนส่งทางน้ำ รับทราบหรือไม่(ไม่ไช่สอบถาม ..81) เพื่อยืนยันว่ายังสงวนสิทธิอยู่หรือไม่ .............หรือว่าบันทึกผู้ปกครองท้องทีและ .. ไว้เป็นหลักฐาน...เป็นอันว่าช่างดำเนินการเสร็จแล้ว และจะถูกต้องไหม.......
                
ความคิดเห็นที่ 3 จากคุณ นายช่างหลังเขา เมื่อวันที่ 12/7/2552 21:36:21  IP : 117.47.160.118




++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการระวังชี้แนวเขตที่ดิน .. 2538
ข้อ.6 เมื่อพร้อมทำการรังวัด ให้เจ้าหน้าที่มอบ "ใบมอบอำนาจ" ให้กับช่างรังวัด และปฏิบัติดังนี้

6.1.3.2 ในกรณีที่หลักเขตที่ดินอยู่บน "แนวฝั่งของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หรือทะเล " ให้เจ้าหน้าที่(ของกรมเจ้าท่า) บันทึกแจ้งช่างรังวัดว่าแนวเขตที่ดินดังกล่าวไม่ได้อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบหรือทะเล ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมเจ้าท่าที่จะทำการระวังชี้และรับรองแนวเขตให้ได้ จากนั้นให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 6.6 โดยอนุโลม

6.6 ในกรณีที่มีการงดชี้แนวเขต ให้เจ้าของที่ดินและช่างรังวัดลงชื่อการงดชี้แนวเขตเป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐานพร้อมเหตุผล


ส่วน การดำเนินการตาม ข้อ 3 หากข้อเท็จจริงปรากฎชัด  การดำเนินการตามความเห็นท้าย
น่าจะชอบด้วยกฏหมายแล้ว เพราะข้อเท็จจริงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมเจ้าท่า(เดิม)แล้ว



ประเด็นกฎหมายกรมเจ้าท่า(เดิม) ขอสงวนสิทธิ ไม่พบ
มีแต่เประเด็นกรณีเจ้าของที่ดิน ได้มีการครอบครองหวงแหนในส่วนซึ่งล้ำแนวเขตฝั่งของแม่น้ำ ลำคลอง  .... โดยไม่ปล่อยให้เป็นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ถือว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดนั้นคงอยู่



ความคิดเห็นที่ 4 จากคุณ นายช่างเล็ก ชช.(ชุมชนชายแดน) เมื่อวันที่ 13/7/2552 9:04:47  IP : 118.172.111.150

ภูเก็ตมี 50 คดีเป็นเรื่องของที่ดินเกือบทั้งหมด



ศาลปกครองนครฯ พบ ปชช.ที่ภูเก็ต - เผยคดีเข้าสู่ศาลเป็นเรื่องที่ดินส่วนใหญ่

โดย ผู้จัดการ วัน อังคาร ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11:06:00 น.




              ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศาลปกครองพบประชาชนและเสริมสร้างเครือข่ายด้านสื่อมวลชนประจำปี 2552 18 ..นี้ที่ภูเก็ต เผยคดีในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนที่เอกชนฟ้องรัฐและรัฐฟ้องเอกชนเข้าสู่ศาลปกครองนครศรีธรรมราชแล้วประมาณ 1,000 คดี ขณะที่ภูเก็ตมี 50 คดีเป็นเรื่องของที่ดินเกือบทั้งหมด นายสุเมธ รอยกุลเจริญ อธิบดีศาลปกครองนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ศาลปกครองโดยสำนักงานศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครองนครศรีธรรมราช จะจัดโครงการศาลปกครองพบประชาชนและเสริมสร้างเครือข่ายด้านสื่อมวลชน ประจำปี 2552 ในวันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2552 ห้องพระพิทักษ์แกรนด์บอลรูม โรงแรมเมโทรโพล .เมือง .ภูเก็ต ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนทั่วไป นิสิต

             นักศึกษาและสื่อมวลชนจากจังหวัดระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ในเรื่องของศาลปกครองกับสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบาทและหน้าที่ของศาลปกครอง กระบวนการพิจารณาคดีปกครอง และข้อมูลสถิติพร้อมตัวอย่างคดีปกครองในภูมิภาคที่น่าสนใจ โดยในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะมีโครงการเสริมสร้างเครือข่ายด้านสื่อมวลชน โดยเป็นการเสวนาหัวข้อ บรรทัดฐานคดีปกครองและการสอบปัญหาจากสื่อมวลชน เพื่อให้สื่อมวลชนได้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับคดีปกครองต่อไป นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานยังประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการศาลปกครอง การเปิดคลินิกให้บริการคำปรึกษาของศาลปกครอง การบริการตรวจสุขภาพฟรีและการตอบปัญหาชิงรางวัล นายสุเมธยังกล่าวถึงสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครองในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน


มีผู้เข้าชม 80 ครั้ง
สนับสนุนเนื้อหาโดย

ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12



ข้อกฎหมาย

Item Thumbnail



Item Thumbnail


Item Thumbnail




มาตรา59ตรี หากเนื้อที่ใหม่ต่างจาก ส.ค.๑ให้ออกเท่าที่ทำประโยชน์โดยปฏิบัติไปตาม ระเบียบคณะกรรมการจัดฯ ฉ.12..ซึ่งระบุว่าถ้าออกตาม 59ตรี มีระยะและข้างเคียงตรงตาม ส.ค.๑ ออกเท่าที่ทำประโยชน์แล้วแต่ไม่เกินจำนวนที่คำนวณได้...ตรงนี้ไม่โอกาสเป็นไปไม่ได้ ระยะกว้างยาวอย่างละเส้น วัดใหม่ได้อย่างละเส้น ข้างเคียงตรงกับ ส.ค.๑ ออกได้เลย 1 ไร่ แต่ถ้าทำประโยชน์แล้วคำนวณได้แค่2งาน ก็ให้ออกได้แค่2งาน ส่วนที่เหลืออีก2งานไม่ออกให้....จึงมีขยักที่สอง...หากระยะผิดพลาดคลาดเคลื่อน...ออกเท่าที่ทำประโยชน์โดยต้องมีการรับรองเขตครบ....คำว่ารับรองเขตครบเป็นอย่างไร ได้ขยายความไว้ใน

ข้อ9 ของระเบียบฯ....จดป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า...ใช้ระยะเป็นหลัก....เพราะไม่สามารถพิสูจน์ไปได้ไกลขนาดใหนถึงจะถึงป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า เท่ากับในขณะที่แจ้ง.....ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิตาม ป.ที่ดินเท่ากับขณะที่แจ้ง..ส่วนที่ไม่ได้แจ้ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ "คำว่าออกโฉนดต้องมีการรับรองเขตให้ครบ แล้วขยายคำว่าครบเป็นอย่างไรนั้น" เลยถูกนำมาใช้ทุกกรณี....โดยคิดว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยถูกต้องแล้ว....และก็รักษาสิทธิให้ข้างเคียงจัง....ทำให้ข้างเคียงหรือทุกส่วน มองเป็นหน้าที่ของที่ดินไปเสียแล้ว


Item Thumbnail

ดูชัดๆเลยครับ 12 ข้อ 10 กรณีที่ด้านใหนติดป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่า

ความหมายน่าจะพูดถึงที่ดินที่จดที่ว่างเปล่าบนข้อเท็จจริงตามปัจุบัน ไม่ใช้ในสค1ระบุอย่างไรก็ถือตามนั้น กรมที่ดินควรตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเพื่อหาข้อยุติในการบริการประชาชน



Item Thumbnail


ท่านอธิบดีครับฉ12ข้อ8 วรรค 2 กรมสั่งไม่ให้ใช้หรือครับ


ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 8 วรรค 2

กรณีที่ระยะเเนวเขคผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้พนักงานที่ออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เท่าจํานวนเนื้อที่ได้ทําประโยชน์เเล้วเมื่อผู้มีสิทธิ์ในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองเเนวเขตไว้เป็นการถูกต้องครบถ้วนทุกด้าน